ผลการพัฒนารูปแบบประสานงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • บัวบุญ อุดมทรัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ผดารณัช พลไชยมาตย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การประสานงาน, ถ่ายโอนภารกิจ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบประสานงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)กรณีถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยใช้ แนวคำถามการสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้าง IOC มากกว่า 0.5 แบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน รพ.สต. อัลฟ่าของครอนบาค =0.71 และแบบสอบถามการประสานงานและผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต. อัลฟ่าของครอนบาค =0.76 การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 15 คน ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการประสานงาน (R1) ระยะที่ 2 พัฒนาต้นแบบเบื้องต้น (Prototype) (D1) แล้วนำไปทดสอบกับ รพ.สต.78 แห่ง เก็บข้อมูลประสิทธิผลและข้อมูลความต้องการปรับปรุงต้นแบบเพิ่มเติมโดยการสนทนากลุ่ม ตัวอย่าง 34 คน (R2) ระยะที่ 3 ปรับปรุงต้นแบบได้รูปแบบพร้อมใช้งาน (Model) (D2)แล้วนำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 26 อำเภอ รพ.สต.248 แห่ง วัดประสิทธิผลหลังจากใช้งาน(R3) โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง 142 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน
          ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบประสานงานมีองค์ประกอบ 8 ด้าน 1)ด้านระเบียบและกฎหมาย 2)ด้านบทบาทของหน่วยงาน 3)ด้านการจัดโครงสร้างบริหาร 4) ด้านการบังคับบัญชา 5)ด้านการมีส่วนร่วม 6) ด้านผู้ประสานงาน 7) ด้านการจัดระบบสื่อสาร และ 8)ด้านจังหวะเวลา การประเมินประสิทธิผลการใช้งานต้นแบบ พบว่าคะแนน|ประสานงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.56) คะแนนผลการปฏิบัติงาน รพ.สต. โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.58) ปัจจัยการประสานงานด้านการจัดโครงสร้างบริหาร ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการจัดระบบสื่อสารและด้านการบังคับบัญชา ร่วมกันทำนายผลการปฏิบัติงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ร้อยละ 66.20 ข้อเสนอแนะ สามารถนำปัจจัยประสานงานไปปรับใช้ในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เกิดประสิทธิผล

 

 

References

เอกสารอ้างอิง

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. การเมืองในกระบวนการกระจายอํานาจ:ศึกษาผ่านบทบาทของนักวิชาการ ข้าราชการ นักการเมืองและประชาชน. วารสารธรรมศาสตร์ 2556; 32(1): 57-90

Litvack J, Ahmad J, Bird R. Rethinking decentralization in developing countries [Internet]. ELibrary, World Bank Group. 2013 [Cited 2023 January 20]. Available from: https://doi.org/10.1596/0-8213-4350-5.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพฯ: ทำเนียบรัฐบาล; 2564.

สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปข่าว สธ. ประจำวัน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/08/179097/.

สมยศ แสงมะโน. ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลจากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2557.

ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา, สลักจิต ชื่นชม. การถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอนและข้อเสนอเชิงนโยบาย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3860?locale-attribute=th.

กิตติชัย ปัญญาวัน. จตุพร เสถียรคง. ชุมชนกับการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาบ้านต้นโชค ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/540.

จักรวาล สุขไมตรี. เทคนิคการประสานงานในองค์การ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ 2561; 5(2): 263-75.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2547.

Best J. Research is Education. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice-Hall; 1977.

ปนัดดา กลกลาง. การประสานงานที่มีประสิทธิผล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตําบลท่าตอ อําเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_lopburi01_02082021/6124952474.pdf.

สมิต สัชฌุกร. เทคนิคการประสานงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน; 2553.

ธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์. คุณภาพการบริหารราชการของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 2564; 7(1): 196-207.

บุหลัน บุญผัน, ประสิทธิ์ คุณุรัตน์. การประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข 2555; 5(2) : 119-34.

อารยา จันทร์ขวาง, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565; 29(2): 54-64.

ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564; 7(6): 29-42.

ชัยพฤกษ์ อัยยะภาคย์, ณรงค์ กุลนิเทศ, นภัสสรณ์ สุพัฒน์อัญพร. การประสานงานระหว่างองค์กร อำนาจหน้าที่ บทบาทขององค์กรและ เอกภาพในการบังคับบัญชาที่ส่งผลต่อการบริหารภาครัฐเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2562; 7(6) : 1688-99.

พระเมธาวินัยรส, สาลินี รักกตัญญู. การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข. วารสารวิจัยวิชาการ 2566; 6(1): 289-302.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09