ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ลำพูล ศรีสังข์รัตน์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมบริโภคอาหาร, ความดันโลหิตสูง, การรับรู้ความสามารถตนเอง, โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหาร พฤติกรรมบริโภคอาหาร ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังได้รับโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิในอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เพศชายและหญิง อายุ 35-59 ปี ได้รับการรักษาด้วยยามาอย่างน้อย 1 ปี มีความดันโลหิต 140-180/90-110 มม.ปรอท คัดเลือกกลุ่มทดลองที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และเลือกกลุ่มเปรียบเทียบ โดยการจับคู่ให้มีเพศ อายุ และค่าความดันโลหิต ใกล้เคียงกัน กลุ่มละ 31 คน เครื่องมือทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงตามแนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองของแบนดูรา ดำเนินการศึกษา เดือนกันยายนถึงตุลาคม 2565 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกภาวะสุขภาพ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก และ สายวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนและหลังทดลอง ใช้สถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

                  ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลอง มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ และมีพฤติกรรมบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) และมีความดันโลหิตซิสโตลิก ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) แต่ค่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก พบว่า หลังการทดลอง ทั้งสองกลุ่มมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองพบว่า ค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารไปเป็นแนวทางพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารในโรคเรื้อรังอื่น ๆ ต่อไป

References

World Health Organization. Hypertension [internet]. 2020 [cite 2022 Oct 5]. Avalable from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การดำเนินงานด้านป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ(NCDs). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

มันทนา ประทีปะเสน, เรวดี จงสุวัฒน์, ฉัตรภา หัตถโกศล. ชุดความรู้เรื่อง การบริโภคเกินไม่ได้ สัดส่วน เค็มเกิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2554.

Bandura A. Self-efficacy: The Exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997.

ศูนย์ข้อมูลอำเภอโพธิ์ตาก. รายงานตัวชี้วัดประจำปี 2563. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ตาก: หนองคาย; 2563.

นิยม บุระคร. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2561.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัยเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989); 2558. หน้า 70.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, ชญาภา วันทุม. การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2560; 11(2): 105-11.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

Bonwell CC, Eison JA. Active learning: Creating excitement in the classroom [internet]. 2023 [cite 2023 Feb 2]. Avalable from: https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED336049.pdf

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, ทัศนีย์ รวิวรกุล, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เอ็ม เอ็น คอมพิวออฟเซท; 2561.

อารีรัตน์ คนสวน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

หนึ่งฤทัย สิงห์ทา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.

ศิราณี โพธิ์ศรี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

สุภาพร ทิพย์กระโทก. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12