ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อัญชสา แก้ววังสัน สาขาวิชาการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมรับประทานอาหาร, กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130-139/80-89 ม.ม.ปรอท เพศชายและหญิง อายุ 35-60 ปี และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยเลือกกลุ่มทดลองที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ในการคัดเข้าด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แล้วเลือกกลุ่มเปรียบเทียบให้มีเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย และความดันโลหิตคล้ายคลึงกันกลุ่มละ 31 คน เครื่องมือทดลองคือโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงตามแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 3 ส่วน 2) เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิทัล 3) เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิทัล และ 4) สายวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา สถิติทดสอบทีชนิดไม่อิสระจากกันและชนิดอิสระจากกัน สถิติทดสอบวิลคอกซันแมทซ์แพร์สซายน์แรงค์ และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู

          ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรม (1) กลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมรับประทานอาหาร และประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมรับประทานอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมรับประทานอาหาร ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีพฤติกรรมรับประทานอาหาร สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<0.05) (2) กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิก ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ มีดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563

กลุ่มรายงานมาตรฐาน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=9cd87ceb6609d0183a3cfd2f0fd29553

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริคธิงค์; 2562.

กองการแพทย์ทางเลือก. แดชไดเอท (DASH Diet) บำบัดโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: วี อินดี้ ดีไซน์; 2563.

คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: เอ.วี. โปรเกรสซีฟ; 2563.

เสาวลักษณ์ มูลสาร, เกสร สำเภาทอง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 11(1): 87-98.

เสาวณีย์ ขวานเพชร, พัชราณี ภวัตกุล, มัณฑนา ประทีปะเสน, นิรัตน์ อิมามี, ฉวีวรรณ บุญสุยา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2554; 41(พิเศษ): 9-20.

อัมภากร หาญณรงค์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 25(3): 52-65.

นุจรี อ่อนสีน้อย, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, ชนัญชิตาดุษฎี ทูลศิริ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37(1): 63-74.

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and health belief model. Health Educ Q 1988; 15(2): 175-183.

Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Educ Beh 1974; 2(4): 328–35.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2554.

ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ทฤษฎีความสามารถของตนเอง. ใน: ศิริพร ขัมภลิขิต และจุฬาลักษณ์ บารมี, บรรณาธิการ. คู่มือการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555. หน้า 35-47.

กรรณิการ์ เงินดี. ผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2564.

แรมจันทร์ ทรงทอง. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2564.

ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, ไพฑูรย์ วุฒิโส, เมวดี ศรีมงคล. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอแก้งค้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลทหารบก 2564; 22: 478-87.

สุภาวดี พรมแจ่ม. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 10. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

สุรางคณา คงเสือ. ศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติตัวในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งศรีเมือง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12