การพัฒนารูปแบบระบบการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน การระบาดโรคโควิด 19 จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการภาวะฉุกเฉิน, โควิด 19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบระบบการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินการระบาดโรคโควิด 19 จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ถึง มิถุนายน พ.ศ.2565 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ระดับเขต ผู้บริหารระดับจังหวัด แพทย์ พยาบาลนักวิชาการ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุม โรคในพื้นที่ (CDCU) ผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนจากภาคการศึกษา เก็บข้อมูล แบบผสมผสาน (Mixed method ) แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การระบาดจากรายงานเร่งด่วนประจำวัน ข้อเสนอ ปัญหาอุปสรรคจากหน่วยปฏิบัติต่างๆ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินการระบาดโควิด 19 ผ่านกระบวนการจัดการคุุณภาพ (PAOR) 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติ สังเกต และสะท้อนผล ระยะที่ 3 สรุปผลและถอดบทเรียนโดยใช้เทคนิคการทบทวนหลังปฏิบัติ (After Action Review technique: AAR)แยกตามองค์ประกอบ ตามหลักการบริหารแบบ 3S (Stuff Staff System) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth interview) เก็บรวบรวมข้อมลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาจากรายงานและข้อค้นพบจากผลการปฏิบัติงานจากหน่วยต่างๆ การระบาดของสายพันธุ์ Alpha และ Delta ทำให้มีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขเนื่องจากยังขาดความพร้อมในการรองรับทั้งด้านการแยกกัก การกักกันและการติดตามดูแล ทั้งในด้านการจัดการ ด้านบริการ ด้านการเฝ้าระวังและควบคุม โรค ระยะที่ 2 วิจัยเชิงปฏิบัติการ พัฒนารูปแบบวางแผนเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครือข่าย ภาคประชาสังคม องค์กรท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ร่วมกันพัฒนารูปแบบกลไกในการจัดการ โดยมีจุดจัดการ คือ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ กำหนดฝ่ายรับผิดชอบที่ชัดเจน จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินจังหวัด การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จัดสถานที่กักกันในรูปแบบชุมชนดูแล (Community isolation) และกักกันที่บ้าน (Home isolation) การจัดการให้มีสถานที่ให้บริการวัคซีนประชาชนอย่างเป็นระบบ การจัดการระบบข้อมูลจังหวัดให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้ง่าย ลดความซ้ำซ้อน เยี่ยมติดตามผลจากการปฏิบัติงาน ระยะที่ 3 สรุปผลและถอดบทเรียน
       จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินในครั้งนี้ ได้เกิดการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมจากภายนอกภาคส่วนด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเกิดความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาสัังคม ภาคท้องถิ่น ร่วมสนับสนุนทรัพยากร อุปกรณ์ กำลังคน ส่งผลให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการควบคุมการระบาดของโควิด 19 ของจังหวัดอุดรธานีซึ่งสามารถนำไปขยายผลในการจัดการภาวะฉุกเฉินในด้านอื่นๆ ได้

References

World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2020 [cited 2022 Aug 14]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-the-coronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it

World Health Organization. COVID-19 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) Global research and innovation forum [Internet]. 2020 [cited 2022 Aug 14]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-re-search-and-innovation-forum

CNN. Health Tracking Covid-19 vaccination worldwide[online].2021 [cited 2021 May 28]. Available from: https://edition.cnn.com/interactive/2021/health/global-covid*vaccinations

กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, วิทยา ถิฐาพันธ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, จุไร วงศ์สวัสดิ์, ปพนสรรค์ เจียประเสริฐ, ชนินันท์ สนธิไชย. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์ระบาด ปี 2564 ประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.

World Health Organization. Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV) [Internet]. 2020 [cited 2022 August 18]. Available from: https://www.who.int/news-room/detail/30-01-2020-statement-on-the-second-meeting-of-the-international-health-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the-outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov).

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF.

หนึ่งฤทัย ศรีสง, ธนวดี จันทร์เทียน, ณัฐปราง นิตยสุทธิ์, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. การวิเคราะห์เชิงพรรณนาสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานบันเทิงของไทย.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): S5-13.

กฤษณะ สุกาวังค์. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เขตสุขภาพที่ 8 ปี พ.ศ.2563-2565. อุดรธานี: เขตสุขภาพที่ 8; 2565.

องอาจ นัยพัฒน์. การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

สำนักงานธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ทะเบียนรายงานการสอบสวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). อุดรธานี: สำนักงานธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2564.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554.

World Health Organization. Responding to noncommunicable diseases during and beyond the COVID-19 pandemic: a rapid review [Internet]. 2020 [cited 2022 August 18]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Non-communicable_diseases-Evidence-2020.

วลัยพร รัตนเศรษฐ์, สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2564; 4(2): S171-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01