วิถีชีวิตการเผชิญปัญหา ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อน ในนิคมโรคเรื้อนที่ถ่ายโอนให้เป็นหมู่บ้านทั่วไปในภาคเหนือ ปี พ.ศ.2564

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ เพาะโภชน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • โกเมศ อุนรัตน์ มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จันจนากร พรหมแก้ว สถาบันราชประชาสมาสัย

คำสำคัญ:

วิถีชีวิต, การเผชิญปัญหา, ผลกระทบและการปรับตัว, ผู้ป่วยโรคเรื้อน, นิคมโรคเรื้อนที่ถ่ายโอนให้เป็นหมู่บ้านทั่วไปในภาคเหนือ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตการเผชิญปัญหา ผลกระทบ และการปรับตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อนในนิคมโรคเรื้อนที่ถ่ายโอนให้เป็นหมู่บ้านทั่วไปในภาคเหนือ ปี พ.ศ.2564 ในพื้นที่รับผิดชอบ 3 นิคม ได้แก่ นิคมแม่ทะ จังหวัดลำปาง นิคมฝายแก้ว จังหวัดน่าน และนิคมแม่ลาว จังหวัดเชียงราย รวมจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสัมภาษณ์การถอดบทเรียน โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Contentanalysis) นำเสนอข้อมูลในรูปแบบเรื่องเล่า(Narrativeanalysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตการเผชิญปัญหาและผลกระทบจากประสบการณ์การเป็นโรคเรื้อนที่สำคัญ คือ การตีตรา มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจนจากคนภายนอกนิคมโรคเรื้อนจนมีบางแห่งเรียกนิคมโรคเรื้อนว่า “หมู่บ้านงูเห่า” ด้วยสภาพนิ้วมือที่หงิกงอคล้ายงู เนื่องจากผลกระทบที่ได้รับจากโรคเรื้อน ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ปรับตัวได้อยู่ในรุ่นลูกหลาน มีอายุไม่มาก สามารถดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างปกติ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ปรับตัวไม่ได้ อยู่ในรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเป็นวัยสูงอายุเนื่องด้วยสภาพความพิการของร่างกายประกอบกับความรู้ความเข้าใจต่อโรคเรื้อนของคนในอดีตยังมีไม่มากนัก ภาพจำการถูกรังเกียจและการถูกเลือกปฏิบัติ จนกลายเป็นการตีตราตนเองทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อนไม่สามารถเข้าสู่ระบบการเช่าที่ดินราชพัสดุ เนื่องจากมีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าย้อนหลังจากกรมธนารักษ์
ข้อเสนอจากการศึกษา ถึงแม้ว่าประเทศไทยสามารถควบคุมโรคเรื้อนได้สำเร็จ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 แต่จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อนยังมีปัญหาด้านจิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ จึงควรมีการแก้ไขปัญหาภาพจำของการตีตราตนเองในอดีตของการเป็นโรคเรื้อน และควรมีการแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บค่าเช่าที่ดินราชพัสดุย้อนหลัง ซึ่งกรมควบคุมโรคควรเป็นแกนหลักให้มีการติดตามประเมิน ผลในทุกมิติโดยดำเนิน การร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

References

ธีระ รามสูต. ตำราโรคเรื้อน. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2535.

ธีระ รามสูต. ประวัติ ศาสตร์โรคเรื้อนในประเทศไทย. นนทบุรี: มาสเตอร์คีย์; 2559.

มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงสาธารณสุข. ราชประชาสมาสัยสาร ฉบับพิเศษ 2559. นนทบุรี: มาสเตอร์คีย์; 2563.

นิพนธ์แสนโคตร, ไพรัช วัชรกุลธรไทย. ผลกระทบจากการถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษานิคมโรคเรื้อนอำนาจเจริญ ปี 2561. วารสารควบคุุมโรค 2564; 47(2): 409-18.

นิยม ไกรปุย,โกเมศ อุนรัตน์. การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อนภายหลังการปรับเปลี่ยนนิคมสู่ชุมชนปกติโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษานิคมโรคเรื้อนปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ สคร. 9 2562; 25(1): 55-63

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล, ชุติวัลย์ พลเดช. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ผลของการตีตราต่อผู้เป็นโรคเรื้อน วัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นโรคเอดส์. วารสารควบคุมโรค 2561;. 44(1): 19-29.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการสังคม: แนวคิดและวิธีวิจัย. กรุุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

อนันต์ตรี สมิทธิ์นราเศรษฐ์. การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2560; 11(3): 43-56.

ชัญญานุช พะลัง, ปิ่นหทัย หนูนวล. การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ: วิจัยกรณีศึกษา. วารสารโรคมะเร็ง 2563; 40(2): 62-75.

House JS. Work,Stress and Social Support. MA: Addison-Wesley; 1981.

โกเมศ อุนรัตน์, นิยม ไกรปุย, โฉมศรี ถุนาพรรณ, เอกพล แก่นดี. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการบูรณาการนิคมโรคเรื้อนปราสาทจังหวัดสุรินทร์ สู่ชุมชนทั่วไป. วารสารควบคุมโรค 2556; 39(4): 297-308.

ณัฐสุดา แสงบุญ, มุกดา เดชประพนธ์, สุปรีดา มั่นคง. การปรับตัวของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น. วารสารพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2561; 25(1): 29-42.

ธรณิศ สายวัฒน์, สายใจ คำทะเนตร, พัฒนี ศรีโอษฐ์. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตีตราและพฤติกรรมของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่ อำเภอ บ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2565; 29(2): 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01