ประสบการณ์และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การฝังเข็ม , การแพทย์แผนจีน , ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง , โรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การเข้ารับการรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็มในมุมมองของผู้ป่วย เก็บข้อมูลหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการรักษาฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มจำนวน 10 คน และผู้ดูแลผู้ป่วยจำนวน 10 คน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มและผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75 มีอายุเฉลี่ย 48.54 ปี อายุน้อยที่สุดคือ 28 ปี อายุมากที่สุดคือ 79 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่คู่ (สมรส/อยู่ด้วยกัน) ร้อยละ 65.0 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษา ร้อยละ 83.0 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 72.0 ประสบการณ์การเลือกใช้การรักษาด้วยการฝังเข็มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู ในมุมมองของผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาด้วยการฝังเข็มอย่างน้อย 20 ครั้ง เกิดจากพฤติกรรม 4 ด้านคือ ทัศนคติ ความเชื่อ ความไว้ใจในการรักษา และความรู้เข้าใจในการรักษา ส่วนผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็ม พบว่า ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ก่อนการฝังเข็มอยู่ในช่วงคะแนน 9-11 คะแนน (ภาวะพึ่งพิงปานกลาง) หลังการฝังเข็มมีคะแนนอยู่ในช่วง 12-20 คะแนน (ไม่เป็นการพึ่งพิง) และมีความพึงพอใจในการรับการรักษาด้วยการฝังเข็มจากการบริการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการที่ประทับใจ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการที่เป็นมิตร ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร และด้านสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย
ดังนั้น ประสบการณ์การเลือกใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาด้วยการฝังเข็ม สามารถสร้างความมั่นใจทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีขึ้น ควรนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการบริการฝังเข็มสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูต่อไป
References
Adigwe GA, Tribe R, Alloh F, Smith P. The Impact of Stroke on the Quality of Life (QOL) of Stroke Survivors in the Southeast (SE) Communities of Nigeria: A Qualitative Study. Disabilities 2022; 2(3): 501-15.
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2564 ให้ประชาชน “รู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต”[อินเทอร์เน็ต]. 2564 (เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565). เข้าถึงได้จาก: https://shorturl-ddc.moph.go.th/AN4wq
พยุงศักดิ์ สุจิตวัฒนศักดิ์. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดด้วยวิธีฝังเข็มรักษา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564; 36(1): 89-100.
ศรัณย์ อินทกุล, ศลิษา เจริญสุข, ลัคนา น้อยไพล. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนของผู้ป่วยที่รับบริการจากโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2558; 2 (สืบเนื่อง 1): 77-81.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางการจัดบริการฝังเข็มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: ร้านพุ่มทอง; 2563.
Huttnen R, KakKori L. Heidegger's Theory of Truth and its Importance for the Quality of Qualitative Research. Jounal of Philosophy of Education 2020; 54(3): 600-16.
Heidegger M. The Concept of Time. 9th ed. Oxford: Wiley-Blackwell; 2009.
Nowell LS, Norris JM, White DE, Moules NJ. Thematic Analysia: Striving to Meet the Trustworthiness Criteria. IJQM 2017; 16(1): 1-13.
Gibson JL. Organizations Behavior. 7th ed. Boston: Irwin; 2000.
ฤทธิรงค์ อัญจะนะ, วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 2559; 17(2): 70-83.
นนท์ โสวัณณะ. ผลสัมฤทธิ์ของการให้บริการที่คลินิกฝังเข็มของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 25(3): 41-52.
เอื้อมพร สุ่มมาตย์, อุมภิกา ซองเหล็กนอก. ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพโดยการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็มต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(2): 260-70.
กาญจนาฏ คงคาน้อย, องอาจ ศิริกุลพิสุทธิ์. ประสิทธิผลของการฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมและความพึงพอใจต่อบริการรักษาพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก กองการแพทย์ทางเลือก. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
ชาญกิจ อ่างทอง. การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น