การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในเกษตรกรพืชสวนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ เขาเขจร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

เมตริกประเมินความเสี่ยง, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกร

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้เมตริกประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพทางอาชีวอนามัย 3 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.09 อายุเฉลี่ย 54 ปี เพาะปลูกทำเอง ร้อยละ 85.90 จ้างฉีดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 31.07 เกษตรกรใช้กลุ่มสารออร์กาโนฟอสเฟตมากที่สุดร้อยละ 17.75 พฤติกรรมเชิงลบที่พบมากที่สุดได้แก่ ใช้สารเคมีกำจัดแมลง และรับประทานอาหาร/ดื่มน้ำ ในบริเวณที่ทำงาน กลุ่มตัวอย่างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง 3 อันดับแรก ได้แก่ เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ถุงมือยางกันสารเคมี และรองเท้าบูท อาการผิดปกติจำแนกตามระดับความรุนแรง อาการเล็กน้อย ได้แก่ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คันตา อาการปานกลาง ได้แก่ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ตาอักเสบ อาการรุนแรง ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว มีอาการโรคหัวใจ เลือดกำเดาไหล ตามลำดับ ผลการประเมิน ความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรทั้ง 3 เมตริก อาศัยเกณฑ์โอกาสการสัมผัสที่แตกต่างกัน พบว่าเมตริกของโอกาสที่เข้าไปในพื้นที่ใช้สารเคมี เมตริกของพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เมตริกโอกาสสัมผัสจากปริมาณการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองอยู่ในระดับความเสี่ยงยอมรับได้ ดังนั้นผลประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้ง 3 เมตริกนี้ สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่จะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติจากการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เหมาะสมกับกลุ่มสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.แบ่งประเภทพืชที่ปลูกในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://data.moac.go.th.

กรมส่งเสริมการเกษตร. FARMER MAP [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564].เข้าถึงได้จาก: http://www.aiu.doae.go.thf.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2561[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th

สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. การเฝ้าระวังสุุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

จุฑามาศ ฉากครบุรี, สุนิสา ชายเกลี้ยง, วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล. การพัฒนาเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยเพื่อการเฝ้าระวังการรับสัมผัสสารพาราควอตในเกษตรกรผู้ฉีดพ่นสารพาราควอต. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(1): 61-70.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, สายชล แปรงกระโทก. การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(3): 382-9.

กชกร อึ่งชื่น, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติในเกษตรกรฉีดพ่นไกลโฟเสต จังหวัดขอนแก่น. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2563; 13(1): 61-70.

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs 2562 [อินเทอร์เน็ต ]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, ศิริศักดิ์ มังกรทอง, ประจวบลาภ เที่ยงแท้, พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร: กรณีศึกษาอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารราชพฤกษ์ 2561; 16(1): 55-64.

Uengchuen K, Chaiklieng S. Health risk assessment on the glyphosate exposure of knapsack sprayers. Indian J Public Health Res Dev 2020; 11(03): 2109-14.

ฌาน ปัทมะ พลยง, ชนากานต์ กล้ากสิการ, พนิดา จงจิตร, ธัญชนก วงษ์เพ็ญ, โยธิน พลประถม, พิมพร พลดงนอก. การศึกษาแบบผสมผสานวิธี: พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่มีผลต่ออาการเฉียบพลันของเกษตรกรทำนา อำเภอภาชีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563; 9(1): 104-15.

จุฬาลักษณ์ โกมลตร. การคำนวณขนาดตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2555; 20(3): 192-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01