ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ด้วยตนเอง ของประชาชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความรู้, ความคิดเห็น, ทัศนคติ, การมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด - 19 ด้วยตนเองบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ด้วยตนเอง ของประชาชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สร้างขึ้นจาก Google Form วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติ Multiple Logistic Regression นำเสนอค่า COR, ORAdj , P-value จากผลการศึกษาการมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ด้วยตนเอง พบว่า ความชุกของผู้ต้ดสินใจมารับบริการด้วยตนเองตั้งแต่แรก คิดเป็นร้อยละ 62.76 (95% CI = 57.83-67.42) เมื่อวิเคราะห์โดยการควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่นพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำค้ญทางสถิติ ที่ระด้บ 0.05 ได้แก่ สถานภาพสมรส (ORAdj= 1.89, 95% CI = 1.17 – 3.04, p – value < 0.001) ระดับความรู้มาก (ORAdj = 1.62, 95% CI = 1.05 – 2.50, p – value = 0.028) ความคิดเห็นต่อการให้บริการระดับดี (ORAdj = 2.53, 95% CI = 1.54 - 4.16, p – value < 0.001) ดังนั้น การมารับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทำให้เห็นถึงความตระหนักด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน ุ ในแง่ของผลกระทบตัวเอง ครอบครัว และชุมชน ซึ่งความรู้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจ และสร้างทัศนคติที่ดี รวมถึงคุณภาพในการให้บริการ ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลระบบสุขภาพที่เหมาะสมและถูกต้องได้ จึงมีส่วนสำค้ญอย่างยิ่งในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อการต้ดสินใจการร้บบริการวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th.
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีเอสอินเตอร์พริ้นท์; 2564.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพื. คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน (สสส). 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Books.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ. รายงานการจองวัคซีนโควิด 19 อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chalermhealth.com
Mahmud S,Mohsin M,Khan IA,Mian AU,Zaman MA. Knowledge, beliefs, attitudes and perceived risk about COVID-19 vaccine and determinants of COVID-19 vaccine acceptance in Bangladesh. PloS one 2021 Sep 9; 16(9):e0257096.
Acharya SR, Moon DH, Shin YC. Assessing Attitude Toward COVID-19 Vaccination in South Korea. Frontiers in Psychology. 2021 Jul 28. doi:10.3389/fpsyg.2021.694151
Hsieh FY. Bloch DA, Larsen MD. A Simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statist Med 1998; 17: 1623–34.
ปณิตา ครองยุทธิ, จินดา คำแก้ว, ปฐวี สาระติ และ วิริน รัตนสุขรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธิ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Science & Technology MSU 2018; 37(6): 815-22.
Likert L. & Rensis R. Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son; 1967.
Bloom BS. Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1976.
Hosmer DW, Lemeshow S. Applied Logistic Regression. New York: Wiley & Son; 2000.
Lazarus JV, Ratzan SC, Palayew A, Gostin LO, Larson HJ, Rabin K, et al. A global survey of potential acceptance of a COVID-19 vaccine. Nature medicine 2021; 27(2): 225-8.
Mohamed NA, Solehan HM, Mohd Rani MD, Ithnin M, Che Isahak CI. Knowledge, acceptance and perception on COVID-19 vaccine among Malaysians: A web-based survey. Plos one 2021 Aug 13;16(8): e0256110.
พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด 19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(1): 47-57.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(1): 33–48.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วงวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ, และคณะ. คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนของ อสม. นนทบุรี: คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564
วิทยา ชินบุตร, นภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ุจังหวัดสุพรรณบรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(2): 304-18.
แรกขวัญ สระวาสี, ธันยพร วณิชฤทธา. การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการเงินและดิจิทัลในชุมชนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2563; 6(3): 203-20.
Wang J, Jing R, Lai X, Zhang H, Lyu Y, Knoll MD, Fang H. Acceptance of COVID-19 Vaccination during the COVID-19 Pandemic in China. Vaccines 2020; 8(3): 482.
Chaudhary FA, Ahmad B, Khalid MD, Fazal A, Javaid MM, Butt DQ. Factors influencing COVID-19 vaccine hesitancy and acceptance among the Pakistani population. Hum vaccines Immunother 2021; 17(10): 3365-70.
Piraux A, Cavillon M, Ramond-Roquin A, Faure S. Assessment of satisfaction with pharmacistadministered COVID-19 vaccinations in France: PharmaCoVax. Vaccine 2022; 10(3): 440.
Gyan Jyoti, Arun Kumar Yadav, Ritu Kumari, Ruma Coudhary Bhattacharjee. Levelofsatification with COVID-19 vaccine after getting jabs among the generalpopulation in Gurgaon, Haryana. Int J Adv Res 2021; 9(10):750-6.
ไพรัชฌ์ สงคราม. ความต้องการวัคซีนโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุข ในการบริการวัคซีนโควิด-19 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30 Suppl 2: 199-207.
Elhadi M, Alsoufi A, Alhadi A, Hmeida A, Alshareea E, Dokali M, et al. Knowledge, attitude, and acceptance of healthcare workers and the public regarding the COVID-19 vaccine: a crosssectional study. BMC public health 2021; 21(1): 1-21.
El-Elimat T, AbuAlSamen MM, Almomani BA, Al-Sawalha NA, Alali FQ. Acceptance and attitudes toward COVID-19 vaccines: a crosssectional study from Jordan. PLoS One. 2021 Apr 23;16(4): e0250555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น