การปฏิบัติงาน สารเคมีในอากาศ และอาการทางสุขภาพ ของพนักงานบันรถโดยสารประจำทางแบบไม่ปรับอากาศ

ผู้แต่ง

  • ฌาน ปัทมะ พลยง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 0000-0002-6971-6336
  • ชนพร พลดงนอก
  • บุตรี เทพทอง
  • เชิดศิริ นิลผาย
  • ขวัญฤทัย ทีนาคะ

คำสำคัญ:

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์, สารอินทรีย์ระเหย, อาการทางสุขภาพ, พนักงานรถโดยสารประจำทางแบบไม่ปรับอากาศ

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงาน ปริมาณสารเคมี ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหย และอาการทางสุขภาพ ของผู้ประกอบอาชีพบนรถโดยสารประจำทางไม่ปรับอากาศ  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ใช้เครื่องมือวิจัย 2 ส่วน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และเครื่องมือเก็บตัวอย่างปริมาณก๊าซในบรรยากาศ ชนิด Multi RAE Plus Gas การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนา Pearson’s correlation และ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีอายุเฉลี่ย 42.38±9.61 ปี มีพฤติกรรมีสูบบุหรี่ร้อยละ 35.00 ดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 32.50 ทำงานบนรถโดยสารสาธารณะมาแล้วเฉลี่ย 8.41±6.80 ปี ผลการตรวจวัดปริมาณสารเคมีในอากาศ พบปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เท่ากับ 1.00-3.00 ppm สำหรับก๊าซไนโตรเจนและสารประกอบอินทรีย์ระเหย มีปริมาณต่ำกว่าค่าขีดจำกัดของการตรวจวัด พนักงานมีอาการเมี่อยล้าทั้งตัวมากที่สุด ร้อยละ 52.50 รองลงมาเป็นระคายเคืองทางเดินหายใจ และหายใจอึดอัด ร้อยละ 45.00 และ 37.50 ตามลำดับ ผลการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการทางสุขภาพ ข้อแนะนำ พนักงานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจในขณะปฏิบัติงาน และเพิ่มการระบายอากาศภายในรถโดยสารเพื่อให้ลดอาการทางสุขภาพ

Author Biography

ฌาน ปัทมะ พลยง, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

References

ศิพิระ เชิดสงวน. สิ่งคุกคามสุขภาพในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12: 120-32.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. รายงานการดำเนินงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพประจำปี พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ; 2558.

Firdaus M, Juliana J. Exposure to indoor air pollutants (PM10, CO2 and CO) and respiratory health effects among long distance express bus drivers. Health and the Environment Journal 2014; 5(3): 66-85.

Troko J, Myles P, Gibson J, Hashim A, Enstone J, Kingdon S, et al. Is public transport a risk factor for acute respiratory infection?. BMC Infect Dis [Internet]. 2011 [cited 2021 July 3]. Available from: https://doi.org/10.1186/1471-2334-11-16

Brunoro C, Sznelwar LI, Bolis I, Abrahão J.Contributions of ergonomics to the construction of bus drivers health and excellence in public transport and at work. Work 2012; 41: 30-5.

กรมอุตุนิยมวิทยา. สภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ. 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://climate.tmd.go.th/content/file/2031.

อโณทัย กล้าการขาย, เอกชัย แผ่นทอง, เอราวิล ถาวร, คมกฤต เมฆสกุล. การเปรียบเทียบการประเมีนท่าทางการทำงานและอัตราความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนี้อและกระดูกจากการทำงานในพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย 2559; 2(3): 61-7.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การศึกษาการประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและอาการแสดงที่มีความสัพันธ์กับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 15(2): 50-61.

Arellanez A, Días J, Padilla R, Rodríguez VH,Mónica P, Beltrán F, et al. Assessment of persistent indoor VOCs inside public transport during winter season. Chemosphere [Internet]. 2021 [cited 2021 August 15]. Available from: https://doi.org/10.1016/j.chemosphere.2020.128127

Wong LT, Mui KW, Cheung CT, Chan WY, Lee YH, Cheung CL. In-cabin exposure levels of carbon monoxide, dioxide and airborne particulate matter in air-conditioned buses of Hong Kong. Indoor Built Environ 2011; 20(4): 464-70.

ฌาน ปัทมะ พลยง. สุขภาพมูลฐานในผู้ประกอบอาชีพ. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชิภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา; 2563.

KloimuKller I, Karazman R, Geissler H, Karazman-Morawetz I, Haupt H. The relation of age, work ability index and stress-inducing factors among bus drivers. Int J Ind Ergon 2000; 25: 497-502.

Kim HH. Characteristics of exposure and health risk air pollutants in public buses in Korea. Environ Sci Pollut Res 2020; 27: 37087–98.

Chung YS, Wu HL. Stress, strain, and health outcomes of occupational drivers: An application of the effort reward imbalance model on Taiwanese public transport drivers. Transp Res F traffic Psychol Behav 2013; 19: 97–107.

Flexeder C, Zock JP, Jarvis D. Second-hand smoke exposure in adulthood and lower respiratory health during 20 year follow up in the European community respiratory health survey. Respir Res [Internet]. 2019 [cited 2022 February 2]. Available from: https://doi.org/10.1186/s12931-019-0996-z

Best-John W. Research in education. 3rd ed. New Jersey:Prentice Hall Press; 1997.

American onference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). Threshold limit values and biological exposure indices. USA; 2022.

Chan LY, Lau WL, Cao ZX, Lai SC. Exposure level of carbon monoxide and respirable suspended particulate in public transportation modes while commuting in urban area of Guangzhou, China. Atmos Environ 2002; 36: 5831-40.

Kresal F, Roblek V, Jerman A, Meško M. Lower back pain and absenteeism among professional public transport drivers. Int J Occup Saf Ergon 2015; 21(2): 166-72.

Polyong PC, Thetkatuek A. Factors affecting prevalence of neurological symptoms among workers at gasoline stations in Rayong Province, Thailand. Environ Anal Health Toxicol [Internet]. 2022 [cited 2022 May 5]. Available from: https://doi.org/10.5620/eaht.2022009

วุฒิเชษฐ รุ่งเรือง, ฐิติพล เยาวลักษณ์. ภาวะพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2564; 31(3): 229-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01