ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 9
คำสำคัญ:
ภาวะฉุกเฉิน, การสนับสนุนทางสังคม, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์ความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.78 - 0.95 เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์ค่าถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่มีส่วนร่วม ในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.14) โดยเพศ ตำแหน่งทัศนคติการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติการรับรู้ความสามารถของตนเองการได้รับสนับสนุนทางสังคม การได้รับสนับสนุนทรัพยากรและนโยบายมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ซึ่งการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (β=0.39) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขมากที่สุด รองลงมาคือการรับรู้ความสามารถของตนเองการได้รับสนับสนุนทรัพยากร เพศ และตำแหน่ง ตามลำดับ โดยร่วมกันทำนายการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้ร้อยละ 36.00 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนทั้งด้านแรงสนับสนุนทางสังคม การเสริมพลังการรับรู้ความสามารถตนเองในมิติต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ และทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
References
World Health Organization (WHO). Water, sanitation, hygiene and waste management for
COVID-19 [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 4]. Available from: https://apps.who.int/iris/rest/bitstreams/1271257/retrieve.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.disaster.go.th/th/home/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ลำดับเหตุการณ์โควิด - 19 ในไทย ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต ]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
WHO. Water, sanitation, hygiene and waste management for COVID-19. 2020 [cited 2022 Jan 4]. Available from: https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ราชกิจจานุุเบกษา เล่ม 124/ตอนที่ 52ก/หน้า 1/7 กันยายน 2550. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=562237&ext=htm
วิไลลักษณ์ หฤหรรษพงศ์, สสิธร เทพตระการพร. ความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2557; 7: 55-64.
พงศธร ศิริสาคร.ระบบบัญชาการเหตุุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย.สมุทรสาคร: บอร์น ทูบีพับลิชชิ่ง; 2559.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชุ์มนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด; 2558.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. ระดับและความรุนแรงของสาธารณภัย [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.disaster.go.th/th/home/
สุปราณี เจียรพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย. 2557; 6: 121-32.
วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, รัตนาภรณ์ อาษา, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิชชามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2560; 36: 86-97.
สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์; 2553.
ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562; 19: 149-60.
เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565; 3: 66-75.
กนกวรรณ เซียวศิริถาวร, สุธี อยู่สถาพร, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในกรุงเทพมหานคร. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2561; 4: 195-207.
สุดใจ มอนไข่. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2556; 6: 461-77.
กันสินีย์ บุญสม. การมีส่วนร่วม ของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย กรณีศึกษาเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
ณัฏฐกิตติ์ พรจะเด็ด. การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
สันติ อุทรังษ์, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานสุขศาลาของเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2560; 17: 64-76.
ภาสิต ศิริเทศ, ณพวิทย์ ธรรมสีหา. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20: 58 - 65.
บุษราคัม อินเต็ง, สุพัฒนา คำสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเก่า จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562; 19: 132-44.
ศักดิ์ชัย ธิวงค์. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2560.
ไพรัตน์ ห้วยทราย. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 2559; 7: 64-81.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. การดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น