ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกัน โรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธ์ุ

ผู้แต่ง

  • นวพร ศรีนามล นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคโควิด 19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

บทคัดย่อ

 โรคโควิด 19 เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคลากรที่สำคัญในการสื่อสารกับชุมชน หาก อสม. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 จะทำให้ชุมชนป้องกันตัวเองจากโรคโควิด 19 ลดผลกระทบด้านสขภาพ และลดการสญเสียทางเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความชุกของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ของ อสม. อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการศึกษาแบบ Cross-sectional analytical study เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม 2565 กลุ่มตัวอย่าง 564 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted Odds ratio (ORadj) , 95%CI และค่า p-value ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) ได้แก่ เพศ การตระหนักรู้เรื่องโรคโควิด 19 และแรงสนับสนุนของครอบครัว กล่าวคือ เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลืออื่นๆ ในสมการสุดท้าย พบว่า อสม. เพศหญิง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็น 1.93 เท่า เมื่อเทียบกับ อสม. เพศชาย (ORadj= 1.93; 95%CI = 1.06 - 3.51) อสม. มีการตระหนักรู้เรื่องโรคโควิด 19 ในระดับมากมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็น 6.10 เท่า เมื่อเทียบกับ อสม. มีการตระหนักรู้เรื่องโรคโควิด 19 ในระดับน้อย-ปานกลาง (ORadj= 6.10; 95%CI = 2.85 - 13.09) และ อสม. ได้รับแรงสนับสนุนของครอบครัวในระดับมากมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็น 6.20 เท่า เมื่อเทียบกับ อสม. ที่ได้รับแรงสนับสนุนของครอบครัว ในระดับน้อย-ปานกลาง (ORadj= 6.20; 95%CI = 2.88 - 13.32) และความชุกของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดีในการป้องกันโรคโควิด 19 ร้อยละ 88.3 (95%CI = 85.36 - 90.71) สรุป ควรมีการส่งเสริมแรงสนับสนุนในครอบครัวและการตระหนักรู้เรื่อง การป้องกันโรคโควิด 19 ของ อสม. อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรอบรู้และสามารถสื่อสารความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หมวดความรู้ทั่ว ไปโรคโควิด19 [อินเทอร์เน็ต ]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php.

World Health Organization [WHO]. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2022 [cited 2022 May 29]. Available from: https://covid19.who.int.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน [อินเทอร์เน็ต ]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 29 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1150920210610033910.pdf.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เล่ม 3) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1172820210910125610.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การจัดระบบ อสม. และภาคประชาชนสำหรับ Local quarantine และ Home quarantine. [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_km.php.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.). กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/xC2Da.

Kuyinu YA, Femi-Adebayo TT, Adebayo BI, Abdurraheem-Salami I, Odusanya OO. Health literacy: Prevalence and determinants in Lagos State, Nigeria. PLOS ONE. 2020; 15(8): e0237813.

วิลัยวรรณ ปัดถา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของครูชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแกน: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine. 1998; 17(14): 1623-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01