สภาวะความสุข และมุมมองการบริหารจัดการควบคุมโรค ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 จากผลการพัฒนา ชุมชนสร้างสุขในตำบลจัดการคุณภาพชีวิต เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • อดิศร วงศ์คงเดช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ราณี วงศ์คงเดช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สภาวะความสุข, ชุมชนสร้างสุข, ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต เขตสุขภาพที่ 7

บทคัดย่อ

 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาชุมชนสร้างสุข นำร่องในพื้นที่ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดละ 2 ตำบล การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะความสุขและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุุมชนสร้างสุข ใน 4 จัังหวัด ของเขตสุขภาพที่ 7 รวม 8 ตำบล ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2563-พฤษภาคม 2564 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 300 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มเครือข่ายสุขภาพตำบลโดยการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะความสุขในแต่ละด้านกับความสุขโดยรวมของชุมชุน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 79.3) อายุเฉลี่ย 52.3 ปี ร้อยละ 72.3 แต่งงานแล้วและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 66.0 จบการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่าเส้นความยากจน (ร้อยละ 76.0) ในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชนสร้างสุข พบว่า ร้อยละ 69.7 เข้าร่วมในระดับปานกลาง และพบว่ามีสภาวะความสุขโดยรวมในระดับมาก (ร้อยละ 74.7) เมี่อแยกรายด้านพบว่า สุขกาย และสุขเงินอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 78.0 และ 66.7) ส่วนสุขใจ และสุขสามัคคีอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 50.0 และ 66.7) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและความสุข พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value >0.05) เมี่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะความสุขแต่ละด้านกับความสุขโดยรวม พบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับสภาวะความสุขแต่ละด้าน พบว่า มีเพียงด้านสุขสามัคคีที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05, r=0.234) และเมี่อสนทนากลุ่มเครือข่ายพัฒนาชุมชุนสร้างสุข พบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนสร้างสุข ได้แก่ ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุุมชน การมีผู้นำชุมชนที่ดี การมีทนทางสังคมด้านวัฒนธรรม การมีวิถีชีวิตแบบพอเพียงและเอื้ออาทรต่อกัน และการสนับสนุนจากเครือข่ายสุขภาพ และ มุมมองของการทำงานป้องกันควบคุมโรค ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 จะเห็นได้ว่า แม้จะมีความวิตกกังวลกับการระบาดของโรคซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ และยังไม่มีข้อมูลเรื่องโรคและการกำจัดได้อย่างชัดเจน แต่ยังให้ความเชื่อมั่นกับระบบป้องกันควบคุมโรคของประเทศ และมุ่งมั่นทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเองมากที่สุดเพื่อให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิผลเพื่อความสุขและสงบของคนในชุมชน แม้ความสุขในแต่ละด้านจะลดลงบ้าง แต่ก็ถือว่ายังมีสุขได้แบบพอเพียง

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.แนวทางการดำเนินงานสุขภาพ ภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมี่อ 18 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://ssj.stno.moph.go.th/wordpress/wp-content/uploads/2019/11/แนวทางการดำเนินงานสช63.pdf

กรมสนับสนนบริการสุขภาพ. แนวทางการสร้างสุขของชุมชน ชุมชนสร้างสุข สุขกาย สุขใจ ตำบลจัดการคุณภาพชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมี่อ 17 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://pubhtml5.com/xdjb/pukb/basic.

ประสพชัย พสุนนท์. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์ 2557; 7(2): 112-25.

สมพันธ์ เตชะอธิก, วนัย วงศ์อาสา. สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 29(2): 1-22.

พิสมัย สุขอมรรัตน์. ประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมีสุขภาพตามนโยบายชุมชนสร้างสุข : “สุขกาย สุขใจ สุขเงิน”[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมี่อ 5 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จัาก: http://hed.go.th/linkHed/387

สุธาทิพย์ จันทรักษ์. การมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครีอข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2560; 13(2): 67-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01