การประเมินต้นทุนต่อหน่วยการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบตักิารของกลุ่มห้องปฏิบตักิารทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ ศรีราชา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • รัตนาภรณ์ ยศศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • บุศรา สาขา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ปวีณา กมลรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ต้นทุนต่อหน่วย, การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลังปีงบประมาณ 2564 ด้วยแบบบันทึกต้นทุนการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านวัณโรค ด้านโรคเอดส์ ด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค มีบคุลากร ทั้งสิ้น 13 คน เป็นข้าราชการ 10 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 2 คน โดยพบต้นทุนค่าแรง สูงสุด คือ ต้นทุนค่าแรงของงานด้านวัณโรค ต้นทุนค่าวัสดุ สูงสุด คือ ต้นทุนค่าวัสดุของงานด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต้นทุนครุภัณฑ์ สูงสุด คือ ต้นทุนค่าครุภัณฑ์ของงานด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ต้นทุน อาคารสิ่งก่อสร้างสูงสุด คือ ต้นทุนอาคารสิ่งก่อสร้างของงานด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ต้นทุนทางตรงสูงสุด คือ ด้านโรคเอดส์ ต้นทุนรวมสูงสุด คือ ด้านโรคเอดส์ และต้นทุนต่อหน่วยสูงสุด คือ ด้านโรคจากการ ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จำนวน 48,990.41 บาทต่อตัวอย่าง ด้านโรคเอดส์ จำนวน 1,664.75 บาทต่อรายบริการ ด้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1,269.94 บาทต่อรายบริการ และด้านวัณโรค จำนวน 858.98 บาทต่อตัวอย่าง

         ผลการประเมินต้นทุนดังกล่าว ต้นทุนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม และต้นทุนต่อหน่วยของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านโรคเอดส์ค่อนข้างสูง ดังนั้น ควรมีการศึกษาความคุ้มค่าของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแต่ละด้านเทียบกับกระบวนการดำเนินงาน จะทำให้เกิดการจัดการความคุม้ค่าของการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องอัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://phdb.moph.go.th/main/index/ detail/30381

พิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล. นิยามและความสำคัญของห้องปฏิบัติการต่อวงการแพทย์และคุณภาพชีวิต[อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/ publicize/news_491012

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดัง้เดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

จงกล เลิศเธียรดำรง. ต้นทุนโรงพยาบาลทั่วไปโรงพยาบาลศูนย์ท่ัวประเทศ ปีงบประมาณ 2542 รายงานผลโครงการเมธีวิจัยอาวุโสด้านเศรษฐศาสตร์ และการคลังสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2544.

กัญจนา ติษยาธิคม, วลัยพร พัชรนฤมล, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. คู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลชุมชน. นนทบุรี: สำนักงานนโยบายสุขภาพระหว่าง ประเทศ; 2544.

อาทร ริ้วไพบูลย์. การประเมินต้นทุน. ใน: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์, บรรณาธิการ. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

ศูนย์อ้างอิงทางห้องปฏิบัติการและพิษวิทยาสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในงานบริการตรวจวิเคราะห์เพื่อยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28