ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนเเก่น

ผู้แต่ง

  • พิทยภูมิ สิริเพาประดิษฐ์ โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของอาการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลังที่มีกลุ่มควบคุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ทีเ่กีย่วข้องกับความรุนแรงของอาการรวมไปถึงคุณลักษณะของผูป้ว่ยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทีไ่ด้รบัการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาผู้ป่วยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 – เมษายน 2565 มีผู้ป่วยที่ทำการศึกษาทั้งหมด 508 ราย แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม อย่างละ 254 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน สถิติท่ีใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ ถดถอยพหุโลจิสติค ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

        ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี (ORadj = 6.45, 95%CI: 2.29-18.16, p-value <0.001) ค่าดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้น 1 kg/m2 (95%CI: 1.07-1.20, p-value = <0.001) ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวัคซีน (ORadj = 3.79 , 95%CI: 1.08-13.27, p-value = 0.037) ผู้ป่วยที่มีอาการไอ (ORadj = 1.09,95%CI: 1.20-3.02, p-value = 0.006) ผู้ป่วยที่มีอัตราการหายใจ เพิม่ขึน้หนึง่หน่วย (ORadj =1.43,95%CI: 1.13-1.80 ,p-value=0.003)

        จากผลการวิจยัพบว่า การได้ทราบถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย สามารถนำไปพัฒนา เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยรวมถึงการให้ความรู้ในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดโอกาสเกิดความรุนแรงของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

David J Cennimo. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Definition [Internet]. 2021 [cited 2022 April 25]. Available from: https://emedicine. medscape.com/article/2500114-overview

Domenico Cucinotta. WHO Declares COVID-19 a Pandemic [Internet]. 2019 [cited 2020 March 19]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm. nih.gov/32191675/

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ.การระบาดของ โรคโควิด19 ในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 2017420210820025238.pdf

Worldometer. Countries where COVID-19 has spread [Internet]. 2022 [cited 2022 May 1]. Available from: https://www.worldometers. info/coronavirus/countries-where-coronavirushas-spread/

ยง ภู่วรวรรณ. การกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต ]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/การกลายพันธุ์ของโรคโควิด

งานระบาด โรงพยาบาลมัญจาคีรี. การมารับบริการผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงปี 2563-2565. ขอนแก่น: โรงพยาบาลมัญจาคีรี; 2565. เลขที่รายงาน 265. งานระบาด โรงพยาบาลมัญจาคีรี

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแล รักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 22 เมษายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_ page?contentId=169

Sean W, Terrence C, Yeong S, Salahudeen M, Barnaby E, Cher H. High-risk chest radiographic features associated with COVID-19 disease severity. PLOS ONE [internet]. 2021 [cited 2022 May 12]. Available from: https://journals.plos.

org/plosone/article?id=10.1371%2Fjournal.

pone.0245518&fbclid=IwAR3uuZEnIJZRnO2 992waY5f_674wwgp2RxicL-07qLqYbDx373XLUEom1hU

Keisuke N, Tomoyo N, Yukari M, Naoto M. Risk factors associated with hospital transfer among mild or asymptomatic COVID-19 patients in isolation facilities in Tokyo: a case-control study. IJID Regions 2022; 2: 8-15.

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565; (1): 64-71.

Michela A, RoseS P, Jordi M, Erika M, Sarah B, Kerstin K, et al. Risk factors and disease profile of post-vaccination SARS-CoV-2 infection in UK users of the COVID Symptom Study app: a prospective, community-based, nested, case-control study. Lancet infectious disease 2022; (1): 43-55.

Bhatt PJ, Shiau S, Brunetti L, Xie Y, Solanki K, Khalid S, et al. Risk Factors and Outcomes of Hospitalized Patients With Severe Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) and Secondary Bloodstream Infections: A Multicenter Case-Control Study. Clin Infect Dis [internet]. 2021 [cited 2020 Nov 20]; 72(12): e995-e1003. Available from: https://academic. oup.com/cid/article/72/12/e995/5995838? login=false

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28