ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ที่พึงประสงค์และความสุขของผู้สูงอายุ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ขุมทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ประภัสสร บัวนาค

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์, ความสุขของผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุติดสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศึกษา กับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในเขตพื้นที่ตำบลคาละแมะ อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ ได้รับโปรแกรมเป็นเวลา 7 สัปดาห์เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.92 เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และแบบวัดความสุข มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.94, 0.96, 0.92 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวัดผลโปรแกรมก่อนและหลังการทดลอง เปรียบเทียบความแตกต่างเฉลี่ยโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ และบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเองการรู้เท่าทันสื่อแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ และด้านทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุุขภาพที่พึงประสงค์แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าเฉลี่ยความสุขแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างเหมาะสม ให้เหมาะสมกับอายุและระดับการศึกษาของผู้รับข้อมูล

References

World Health Organization (WHO). Coronavirus. Geneva: WHO; 2020.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2564].เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situa-tion.php

กรมสุขภาพจิต. ความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้สูงอายุในช่วง Covid-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30794

กระทรวงสาธารณสุข. หลักการของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/80f2017031913062639.pdf

วัชราพร เชยสุวรรณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่ การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี. 2560; 44(3): 183-97.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (สุรนารายณ์). ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 จังหวัดสุรินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.surin.rmuti.ac.th

ชนวนทอง ธนสุกาญจน์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2564].เข้าถึงได้จาก: http://doh.hpc.go.th/data/HL/HLO_chanuanthong.pdf

รจนารถ ชูใจ, ชลธิชา บุญศิริ, มลพร แพทย์ชีพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2564; 8(1): 250-62.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินกิจวัตรประจํําวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activitiesof Daily Living: ADL) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pknhospital.com/2019/data/starRPST/homecare/cpso_star62_05.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส.ของประชาชนที่่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180627124613.pdf

อภิชัย มงคล, และคณะ.รายงานการวิจัยการพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

วริษา กันบัวลา, ณชนก เอียดสุย, อาภรณ์ ดีนาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564; 29(3): 1-14.

อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว, อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, สาวิตรี ทยานศิลป์. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion. 2560; 76-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01