ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตีตราและพฤติกรรมของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้าน ที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธรณิศ สายวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • สายใจ คําทะเนตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • พัฒนี ศรีโอษฐ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัณโรค, สุขภาพจิต, การตีตรา, พฤติกรรมการปฏิบัติตัวผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตีตราในมุมมองของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น  และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยซ้ำซากพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย เป็นการสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยวัณโรค 42 คน ประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแซง  24 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเล็บเงือก 18 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา 

             ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย (  = 61.4 ปี, S.D.= 10.6) สถานภาพสมรส  น้ำหนักเฉลี่ย (  = 53.2 กก., S.D. = 8.6)  ส่วนสูงเฉลี่ย ( =161.4 ซม., S.D. = 8.0) และมีโรคประจำตัว /โรคร่วม เป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  อาศัยอยู่บ้านสองชั้น พื้นที่บ้านเฉลี่ย     ( = 131.7 ตร.ม., S.D. = 62.2)  ความหนาแน่นค่าเฉลี่ย (  = 41.6 ตร.ม.ต่อคน, S.D. = 27.6) จำนวนหน้าต่างค่าเฉลี่ย (  = 5.4 บาน, S.D. = 7.4)  นำที่นอนหมอนมุ้งผึ่งแสงแดดสัปดาห์ละ 1-2 วันต่อสัปดาห์  ทำความสะอาดบ้านทุกวัน  โดยผู้ป่วยวัณโรค ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการต้องขัง  มีประวัติการสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค สูบบุหรี่  ดื่มแอลกอฮอล์  มีการออกกำลังกาย  1 - 2 วัน/สัปดาห์  สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น บ้วนเสมหะลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด และทำลายเสมหะโดยการเผา และระดับการตีตราของผู้ป่วยวัณโรคในมุมมองของผู้ป่วยวัณโรค ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.05, S.D. = 0.57)

            โดยสรุปผลการศึกษา การตีตราของผู้ป่วยวัณโรคในมุมมองของผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในระดับปานกลาง ควรมีการวางแผนการดูแล และการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่องจากทีมสหวิชาชีพ เพื่อลดการตีตราตนเองของผู้ป่วยวัณโรค ตลอดจนเสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้ป่วยวัณโรคพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อวัณโรคมีสภาพจิตใจที่คลายความวิตกกังวลและลดปัญหาสุขภาพจิตในผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2018 [Internet]. 2018 [Cited 15 December 2020] Available from: https://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2018/en/

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย.การเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการชนบนถนนในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม

.เข้าถึงได้จาก:https://www.who.int/docs/default-source/thailand/roadsafety/overviewth-final-25-719.pdf?sfvrsn=c6dc3da5_2

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. ข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน(3 ฐาน) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/บริการด้านข้อมูล #3baseกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และมาตรการความปลอดภัยทางถนน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13751&gid=1-015-005

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค.สถานการณ์เขตสุขภาพที่ 7[ออนไลน์]. 2563[เข้าถึงเมื่อ23 ธันวาคม2563].เข้าถึงได้จาก

https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base-status

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์จังหวัดขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base-status

งานเฝ้าระวังการบาดเจ็บ ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัดโรงพยาบาลขอนแก่น.ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนด้วยรถจักรยานยนต์ ปี 2015-2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kkh.go.th/trauma/23-years-anniversary-trauma-registry-1997-2019/

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หยุดเด็กและเยาวชนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนน [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26

ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/leaflet/(4)_หยุดเด็กและเยาวชนไทย ตายจากอุบัติเหตุ.pdf

วัชรพงษ์ เรือนคำ, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน.อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย : มุมมองทางวิทยาการระบาด. วารสาร มฉก.วิชาการ 2562; 23: 146-60.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simplemethod of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine 1998; 17(14): 1623–34.

ธิดา ธรรมรักษา, บุบผา ลาภทวี, อมรพล กันเลิศ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ ในผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรในหอผู้ป่วยศัลยกรรม

อุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2559; 1: 13-25.

พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, ณัฐปราง นิตยสุทธิ์, กาญจนีย์ ดานาคแก้ว. การศึกษาทางระบาดวิทยาการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนในผู้ใช้รถจักรยานยนต์และ

การทบทวนมาตรการเกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย.WeeklyEpidemiologicalSurveillance Report 2559; 47: 385-93.

ศิริกุล กุลเลียบและคณะ. การศึกษาข้อมูลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย

[อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2564].เข้าถึงได้จาก: http://www.roadsafetythai.org/uploads/userfiles/ACC_52016.pdf

Boniface R, Museru L, Kiloloma O, Munthali V. Factors associated with road traffic injuries in Tanzania. Pan African Medical Journal 2016; 23: 46.

ฐิติพร วิชัยวงษ์, รุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่มารักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561; 21: 12-21.

จิรวิทย์ เศรษฐ์ศิวานนท์, รุจิรา ดวงสงค์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ในกลุ่มวัยรุ่นที่รับการรักษา ณ แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2560; 20: 85-97.

จริยา ละมัยเกศ, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่มารับบริการแผนก

อุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี 2561; 1: 66-78.

จิรวัฒน์ จึงศิรกุลวิทย์. กลไกการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.

bangkokhealth.com/health/article/กลไกการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร-200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04