คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อารยา จันทร์ขวาง Khon Kaen University
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสนับสนุนจากองค์การ , การปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019      (โควิด 19) ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 117 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาชของแบบสอบถามทั้งชุดได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ระดับการสนับสนุนจากองค์การ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.07 (S.D.=0.61) และระดับการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.50 (S.D.=0.49) โดยภาพรวมการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคโควิด 19 (r=0.740,p-value<0.001) และพบว่าการสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการและด้านงบประมาณ มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 70.5 (R2=0.705,p-value<0.001)

References

Lai CC, Shih TP, Ko WC, Tang HJ, Hsueh PR. Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) and coronavirus disease-2019 (COVID-19): The epidemic and the challenges. Int J Antimicrob Agents. 2020; 55(3): 105924.

Ciotti M, Ciccozzi M, Terrinoni A, Jiang WC, Wang CB, Bernardini S. The COVID-19 pandemic. Crit Rev Clin Lab Sci [Internet]. 2020 [cited 2021 December 16]; 57(6): 365–88. Available from: https://doi.org/10.1080/10408363.2020.17831983.

Coronavirus disease (COVID-19) – World Health Organization [Internet]. 2021[cited December 16]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ในประเทศ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Kobayashi Y, Nagata T, Fujino Y, Hino A, Tateishi S, Ogami A, et al. Association between perceived organizational support and COVID-19 vaccination intention: A cross-sectional study. J Occup Health [Internet]. 2021 [cited 2021 December 16]; e12308–e12308. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8715148

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. เอกสารรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2564. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2564.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Mcgraw-Hill; 1998

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2563; 20(2): 84-95.

จินตนา กีเกียง, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562; 19(2): 154-65.

ปภินวิทย์ คำสมาน, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(3): 223-35.

สุพัตรา ถิ่นไผ่บูรณ์, ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง, ชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(1): 431-40.

สุทิศา อาภาเภสัช. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6(3): 86-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04