การจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
กระบวนการจัดการ, การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ชุมชนมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์ใช้กระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มภาคีเครือข่าย 41 คน โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบประเมินการมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบกระบวนการพัฒนาการจัดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 โดยชุมชนมีส่วนร่วม “ABCD EFG” มี 7 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินบริบท (Assess to context) 2) สร้างทีมคณะทำงาน(Building team) 3) พิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการ (Consider measurement) 4) พัฒนาแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Develop participatory action plan) 5) เน้นหนักการปฏิบัติตามแผน (Emphasize implementing ) 6) การติดตามผลการดำเนินงานตามกิจกรรมต่าง ๆ (Follow the activities) 7) เก็บเกี่ยวประสบการณ์ (Get the experiences) หลังการดำเนินงาน พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น คือ ระดับมาก จากเดิมร้อยละ 18.42 เป็นร้อยละ 34.58 (เพิ่มขึ้น 16.16) มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 4.47 (S.D.0.69) ส่งผลให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จครั้งนี้ คือ 1) มีทีมคณะทำงาน 2) มีแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) การมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนขององค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่และ 4) มีการติดตามผลการดำเนินงาน เยี่ยม นิเทศโดยคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษารูปแบบการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสม ทันต่อสถานการณ์ของโรค และควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการป้องกัน ควบคุมโรค โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในกรณีโรคหรือภัยสุขภาพอื่น
References
กองยุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://soc.soc.go.th/slkupload/v63_113.pdf?fbclid=IwAR17Y_oStaboO369rHMz3SLJmseVzeNOmsdUqRTozUfsdVex_I9lv6FxI5Y
สถานการณ์โควิด-19 ของโลก. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thebangkokinsight.com/news/world-news/covid-19-world-news/735166/
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). [อินเตอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564].เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/29299/
สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: web.facebook.com/prubon/?_rdc=1&_rdr/
พบพร อัมภรัตน์. รายงานระบาดวิทยา อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี.การประชุมศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC) COVID-19 อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี.อุบลราชธานี: ที่ว่าการอำเภอทุ่งศรีอุดม; 2564.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, AUS: Deakin University Press; 1984.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สถิติและระเบียบวิธีวิจัยในงานสาธารณสุข. พรรณราย อมรพินิจ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2545.
Cohen JM, Uphooff NT. Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evolution. Ithaca, New York: Rural development committee, Center for International Studies: Cornell University; 1977.
สมเด็จ มุ่งวิชา,กระต่าย ตลับนิล, วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย. การพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายตามวิถีชุมชน บ้านศรีสง่า ตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต].มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
William E. Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta: Publishing Services Division, School of Business Administration, Georgia State University University; 1976
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ. การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2562; 107-09.
ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, กฤษณ์ พงศ์วิรุฬห์, เกรียง ตั้งสง่า. ประสบการณ์การทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปี 2564. วารสารกรมการแพทย์. 2554; 46: 5-8.
จิราพร บาริศรี, เจนรบ พละเดช, ผ่องพรรณ มุริกานนท์, รินดา พันธ์กาฬสินธุ์, สมทรง พละเดช. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-2019 (COVID -2019) ตําบลเกาะแก้ว อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริการนิติบุคคลและวัฒนธรรมท้องถิ่น. 2564; 7: 33-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น