การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐกร นิลเนตร คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สุขศิริ ประสมสุข คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • เกรียงไกร เกิดหนู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การเสริมสร้างสมรรถนะ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้ดูแลผู้สูงอายุจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค้นหาปัญหาและความต้องการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ดูแล   โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีคุณสมบัติ จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 ดำเนินการทดลองโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้กรณีศึกษาและการศึกษาจากสถานการณ์จริง จำนวน 30 ชั่วโมง แบ่งเป็นบรรยายและสัมมนา จำนวน 12 ชั่วโมง และสาธิตย้อนกลับ จำนวน 18 ชั่วโมง และระยะที่ 3 ประเมินผลหลักสูตรทั้งก่อน ระหว่าง และหลังใช้หลักสูตรด้วยการประยุกต์แบบประเมินชิป (CIPP) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและใช้สถิติ Dependent Sample T-test

            ผลการศึกษา พบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมและชัดเจน ปัจจัยนําเข้ามีความเพียงพอของทรัพยากรและงบประมาณในการสนับสนุน ส่วนกระบวนการอบรมมีความราบรื่นด้วยความร่วมมือช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งจากผู้เข้ารับการอบรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลลัพธ์ของหลักสูตร พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนความพึงพอใจต่อวิธีการและกิจกรรมของหลักสูตรแสดงว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นครั้งนี้สามารถนําไปใช้ฝึกอบรมทักษะการจัดการความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โดยการมีส่วนร่วมในการออบแบบกิจกรรมเพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ ทักษะด้านการปฏิบัติและเกิดความมั่นใจที่สามารถดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2557[เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=36746

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan ระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2563[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dashboard.anamai.moph.go.th.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. การปฏิรูประบบรองรับสังคมสูงวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2558.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2559.

ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.nso.go.th/ sites/2020.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563. เพชรบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี; 2564.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2562. เพชรบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาด; 2563.

เยาวรัตน์ รุ่งสว่าง, ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม, จตุพร หนูสวัสดื์, ศรัญญา ปานปิ่น. การพัฒนาสมรรถนะผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี: การติดตามประเมินผลโครงการ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 14: 93-104.

เบญจมาศ ตระกูลงามเด่น, วณิดา มงคลสินธุ์, ดลนภา สร่างไธสง. การประเมินหลักสูตรผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์ 2561; 25(2): 210-28.

Kemmis S. McTaggart C. The Action Research Planner. 3rd ed. Deakin University: Distributed by Deakin University Press; 1988.

ปภาสินี แซ่ติ๋ว, ชไมพร จินต์คณาพันธ์, ศราวุธ เรืองสวัสด, ธนิดา ทีปะปาล. การศึกษาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุหลังจากอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20: 300-10.

เกศกาญจน์ ทันประภัสสร. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก[วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta.

Bloom, Hastings JT, Madaus DF. Hanbook on Formative and Summative Evaluation of student Learning. New York: Mc Grow Hill Book Company, Inc; 1971.

ธวัชชัย วรพงศธร. หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

Dubovi I, Levy ST, Dagan E. Now I know how! The learning process of medication administration among nursing students with non-immersive desktop virtual reality simulation. Computers & Education 2017; 113: 16–27.

Kim PH, Kim KN. A phenomenological study to the simulation class of adult nursing students. Asia-pacific Journal of Multimedia Services Convergent with Art, Humanities, and Sociology 2018; 8: 541–50.

Kim D. Development and Effect of Virtual Reality Practice Program for Improving Practical Competency of Caregivers Specializing in Dementia. Healthcare (Basel) 2021; 9: 1390.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28