ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืด วัยผู้ใหญ่ คลินิกหอบหืดโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภาษิตา นิลบรรพต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • นฤมล สินสุพรรณ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
  • กุหลาบ ปุริสาร วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการจัดการตนเอง , โรคหืดวัยผู้ใหญ่โรงพยาบาลขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ตามกรอบแนวคิดทฤษฏีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ อัลเบิร์ต แบนดูรา ( 1977 ) และทฤษฏีพฤติกรรมการจัดการตนเอง ของโทบินและคณะ (1986) มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ คลินิกหอบหืด โรงพยาบาลขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยคลินิกหอบหืด ที่มารับการพ่นยาที่ห้องฉุกเฉิน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 20-60 ปี ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 32 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาทดลองระหว่าง เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) โปรแกรมการทดลอง 2) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง และ 4 ) แบบประเมินระดับการควบคุมโรคหืด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบเชิงอนุมาน paired t – test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน เป็นผู้ป่วยเพศหญิง 22 คน (ร้อยละ 68.75) เพศชาย 10 คน (ร้อยละ 31.25) อายุ 20-60 ปี ( = 43.56 , SD=12.56 หลังให้โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ คลินิกหอบหืด โรงพยาบาลขอนแก่น มีประสิทธิผลช่วยให้ผู้ป่วย 1. รู้สมรรถนะแห่งตน 2. มีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่เหมาะสม และ 3 ) สามารถประเมินระดับควบคุมโรคหืดได้ด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( p-value < 0.000 )

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สถิติโรคหืดในจังหวัดขอนแก่น ปี 2563. [อินเทอร์เน็ต].2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kkhdc.moph.go.th/intro/

โรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานสถิติโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวนผู้มาใช้บริการคลินิกหอบหืด. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2564

National, Heart , Lung and Blood Institute. Asthma - What Is Asthma? [Internet]. 2020[cited 2021 June 16]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhlbi.nih.gov/health/asthma

Tobin D, Reynolds R, Holroyd K, Creer T. Self-Management and Social Learning Theory. In: Holroyd K, Creer T, editors. Self-Management of Chronic disease: Handbook of Clinical Interventions & Research. New York: Academic Press; 1986. p. 29-55.

Reddel HK, Bacharier LB, Bateman ED, Brightling CE, Brusselle GG, Buhl R, et al. Global Initiative for Asthma Strategy 2021: executive summary and rationale for key changes. Eur Respir J. 2022; 59(1): 2102730.

สมาคมองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 16 มิ.ย. 2564].เข้าถึงได้จาก: wwwtac.or.th

KhaosodOnline Life style. คุยกับหมอ ภาวะฝุ่นละออง กับผู้ป่วยโรคหืด [อินเทอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26 มิ.ย. 2564].เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.ac.th/lifestyl/news. 262058

Medthai. โรคหอบหืด (Asthma) อาการ, สาเหตุ, การรักษา, วิธีป้องกัน ฯลฯ[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/โรคหอบหืด/

Pobpad. โรคหืด [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 26 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.pobpad.com/โรคหืด

ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์. โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจร้ายแรงจนอาจทำให้เสียชีวิต [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral Change, Psychological Review 84 (March 1997). [Internet]. 1997 [cited 2021 Apr 2]. Available from: https://www.uky.edu/~eushe2/Bandura/Bandura1977PR.pdf

สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย.แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ.2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: www tac.or.th

Nathan RA, Sorkness CA, Kosinski M, Schatz M, Li JT, Marcus P, et al. Development of the asthma control test: A survey for assessing asthma control. J Allergy Clin Immunol. 2004; 113(1): 59–65.

วิยดา สุวรรณชาติ, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหืดวัยผู้ใหญ่ คลินิกโรคหืด โรงพยาบาลแก่งกระจานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเกื้อการุณย์. 2559; 23(1): 60-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04