ความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชราวลัย ขำขณะ
  • คงเดช นิสัยสม
  • เสาวนีย์ ทองนพคุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี, พฤติกรรม, การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

บทคัดย่อ

การติดเชื้อเอชไอวียังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวีจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางเพื่อศึกษาความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 427 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการวิจัยพบว่า ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอายุ ≤ 20 ปี ร้อยละ 16.2 รักเพศเดียวกัน ร้อยละ 64.9 เคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ร้อยละ 65.8 คู่นอนชั่วคราวหรือคู่นอนที่รู้จักผิวเผิน ร้อยละ 16.2 เคยใช้แอปพลิเคชั่นหาคู่ ร้อยละ 70.0 เคยไปตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 41.0 ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 37.2 และมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 45.2 จากการวีเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี พบว่า ระดับการศึกษา (p = 0.03) รายรับเฉลี่ยต่อเดือน (p = 0.04) เหตุผลที่ใช้งานแอปพลิเคชั่นหาคู่ (p < 0.01) การเข้าถึงถุงยางอนามัย (p < 0.01) การเข้าถึงสารหล่อลื่น (p < 0.01) ความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (ภาพรวม) (p < 0.01) จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความรอบรู้ฯ ไม่ดีและมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีไม่เหมาะสมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจ กรรมเพื่อเพิ่มความรอบรู้ ผ่านแอปพลิเคชั่นเพื่อให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธกับชายมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่เหมาะสุม

References

World Health Organization. Global progress report on HIV, viral hepatitis and sexually transmitted infections 2021 [Internet]. 2021 [2021 [cited 2021 Aug 19]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240027077.

The Joint United Nations Program on HIV/AIDS - UNAIDS. Global HIV & AIDS statistics [Internet]. 2020 [cited 2021 Aug 19]. Available from: https://www.unaids.org/en/resources/fact-sheet

HIV and Aids data hub for Asia pacific. Key Facts on HIV in Asia and the Pacific [Internet]. 2020 [cited 2021 Aug 19]. Available from: https://www.aidsdatahub.org/

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานความก้าวหน้าของประเทีศไทยในการยุติปัญหาเอดส์ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/report.php.

กรมควบคุมโรค. รายละเอียดโรคเอชไอวี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เขhาถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=59

ศรีสกุล สังกําปัง, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, นงค์คราญ วีเศษกุล. การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวสำหรับกลุ่มชายที่่มีเพศสัมพันธ์กับชาย.พยาบาลสาร. 2561; 45(3): 11-21.

World Health Organization. health promotion glossary. Geneva: WHO; 1998.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. คู่มือการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV & STIs Literacy) [อินเทอร์เน็ต ]. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2564].เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1080720201214074016.pdf

นุชนาถ แก้วดำเกิง, สิริพร ภิยัโยทัย, จุฑามาศ มากกุญชร, ศิริกูล ชัยเจริญ, เบญจมาศ ใจงาม, เกศินี เขียนวารี.การประเมินผลการเรียนรู้ตามกระบวนการ การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย. วารสารโรคเอดส์. 2563; 32(3): 114-31.

กรมควบคุมโรค. แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ป็ 2562-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3n7DjdJ

ณัฐกาญจน์ อุปฌาย์, อารยา ประเสริฐชัย, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. ผลการพัฒนาการจัดบริการที่เป็นมิตรกลุ่มชายรักชายในศูนย์บริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนจังหวัดชลบุรี. วารสารวีชาการมหาวทยาลัยอีสเทีร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 11(2): 239-52.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควีด 19 (ศบค.). 10 อันดับจังหวัดที่่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควีดในประเทศรายใหม่สูงสุด [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3wgqHG2.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New Yok: John Wiley & Sons; 1953.

Cronbach LJ. Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins; 1990.

Clark-Carter D. Percentiles. In: Everitt BS, Howell D, editors. Encyclopedia of Statistics in Behavioral Science. New York: Wiley; 2005. p.1539-40.

กรมควบคุมโรค. อินโฟกราฟิกมาตรการ D-M-HT-T-A [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1134020210422080659.pdf

Hyndman I, Nugent D, Whitlock GG, McOwan A, Girometti N. COVID-19 restrictions and changing sexual behaviours in HIV-negative MSM at high risk of HIV infection in London, UK. Sexually Transmitted Infections. 2021; 97(7): 521-4.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine. 2008; 67(12): 2072-8.

วัชระ เพ็งจันทร์. บอกเลุ่าถึงความก้าวหน้าของความรู้ด้านสุขภาพในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/3HSX3LK.

McDaid L, Flowers P, Ferlatte O, Young I, Patterson S, Gilbert M. Sexual health literacy among gay, bisexual and other men who have sex with men: a conceptual framework for future research. Culture, Health & Sexuality. 2021; 23(2): 207-23.

ชายชาญ บัวผัน. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มชายรักชาย ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

พลเดช ปิ่นประที่ป. ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27630

รัตติยา สองทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจังหวัดตรัง. วารสารโรคเอดส์.2564; 31(3): 142-53.

ตวงทอง สรประเสริฐ. การรู้เท่าทันสื่อ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์; 2560.

วัชรินทร์ ช่างประดับ. สถานการณ์การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ. 2563; 1(2): 32-46.

Hong H, Xu J, McGoogan J, Dong H, Xu G, Wu Z. Relationship between the use of gay mobile phone applications and HIV infection among men who have sex with men in Ningbo, China: across-sectionalstudy. InternationalJournal of STD & AIDS. 2018; 29(5): 491-7.

Wu D, Tang W, Lu H, Zhang T, Cao B, Ong J, et al. Leading by example: web-based sexual health influencers among men who have sex with men have higher HIV and syphilis testing rates in China. Journal of medical Internet research. 2019; 21(1): 1-11.

Hu L, Luo Y, Zhong X, Lu R, Wang Y, Sharma M, et al. Condom use and related factors among rural and urban men who have sex with men in Western China: based on informationmotivation-behavioral skills model. American journal of men’s health. 2020; 14(1): 1-10.

ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์. ความคุ้นเคยความไว้วางใจและคานิยมด้านพฤติกรรมสุุขภาพ : แนวโน้มการเลือกใช้ยาเพร็พ (PrEP) และการใช้หรือไม่ใช้ ถุงยางอนามัยของกลุ่มประชากรหลักฯ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีในยุคปัจจุบัน. วารสารโรคเอดส์. 2563; 32(3): 73-93.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : กระบวนการ ปฏิบัติการเครื่องมือประเมิน.กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์; 2564.

ปาจรา โพธิ์หัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564; 29(3): 115-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01