การพัฒนาระบบรายงานโรคโควิด-19 ระลอกแรกของประเทศไทย บนระบบออนไลน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
คำสำคัญ:
รูปแบบรายงานโควิด 19 , การพัฒนาระบบรายงาน, รายงานโควิดระบบออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบและคุณภาพของรายงานโรคโควิด-19 บนระบบออนไลน์ ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกันกับการใช้ research & development โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหา (R1) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบรายงานบนระบบออนไลน์ (D1) ระยะที่ 3 การปรับปรุงรูปแบบรายงานให้เหมาะสม (R2) ระยะที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพรายงาน และประเมินความพึงพอใจในการส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ (D2) กลุ่ม เป้าหมายหลัก คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อในทุกสถานบริการสุขภาพภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้ท่ีส่งรายงานโรคโควิด-19 ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เมืองขอนแก่น
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบรายงานรายงานโรคโควิด-19 มีระบบการส่งรายงานที่ต่อเนื่อง ครบถ้วน และต้องทันเวลา ร่วมกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายงานเป็นรายวัน แบ่งเป็น 4 ระยะ โดย ระยะที่ 1 พัฒนาศักยภาพและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวรายงานในกลุ่มผู้ส่งรายงาน ผู้วิจัยได้ศึกษาสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เพื่อนำไปสู่การวางแผนออกแบบรายงานเบื้องต้นผู้วิจัยได้ออกแบบรายงานบนโปรแกรม Microsoft Excel ระยะที่ 2 การส่งรายงานจริง ซึ่งขั้นตอนนี้จะอยู่ในกระบวนการวางแผน สถานบริการต่างๆ ต้องมีวิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนว่าจะส่งรายงานอย่างไร ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ระยะที่ 3 และ 4 สรุปประเมินคุณภาพ ของรายงาน และประเมินการส่งรายงานซึ่งดูถึงคุณภาพของรายงาน การประเมินความพึงพอใจของรูปแบบรายงานโรคโควิด-19 บนระบบออนไลน์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Microsoft Excel กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจในความสะดวก ของการส่งรายงานมากที่สุด ร้อยละ 94.4 รองลงมาการจัดลำดับเนื้อหาของรายงาน ร้อยละ 91.6
References
Public Health Ministry. COVID-19 [Internet]. 2020 [cited 2020 June 21]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
Khon Kaen Provincial Disease Control Committee. The Announcement of Khon Kaen Provincial Disease Control Committee [Internet]. 2020 [cited 2020 July 21]. Available from: http:// www.khonkaen.go.th/khonkaen6/COVID19/ total.html
Isaac S, Michael W. Handbook in research and evaluation. 3 rd ed. San Diego: Educational and Industrial Testing Services; 1995.
Malterud K, Siersma VD, Guassora AD. Sample Size in Qualitative Interview Studies: Guided by Information Power. Qualitative Health Research [Internet]. 2016 [cited 2020 August 3]. Available from: https://doi.org/10.1177/104973 2315617444
Frison L, Procock SJ. Repeated Measure in Medical Trials: Analysis using Mean-Summary Statistics and its Implications for Designs. Statistics in Medicine 1992; 11: 1685 –1704.
Sivaporn A. et all. Development of a web-based community assessment form for Faculty of nursing, Chiang mai university. Journal of Nursing Science and Health 2019; 42(2): 12-23.
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University. Knowledge Bank, Public Health Research Institute [Internet]. 2020 [cited 2021 March 2]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/password-login
The Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Standard assessment for Epidemiological-work report of 6 provinces in the northern part of North in 2003, The Office of Disease Prevention and Control 10, The Department of Disease Control, Ministry of Public Health [Internet]. 2003 [cited 2021 March 2]. Available from: file:///C:/Users/HP/ Downloads/title%2066%20(1).pdf
Khon Kaen Provincial Public Health Office. Number of population from Khon Kaen Register Office, Khon Kaen [Internet]. 2020 [cited 2021 February 21]. Available from: https://kkn.hdc. moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
Chtkhane P. et all. The development of smart phone application for symptomatic observation of neurological system in mild traumatic brain injury patient. Journal of Nursing Science and Health 2019; 42(3): 31-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น