- ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ในเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ปี 2553-2562

-

ผู้แต่ง

  • มงคล อัศวภูมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธวัชชัย อิ่มพูล
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์

คำสำคัญ:

เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี, อุบัติเหตุ, รถจักรยานยนต์

บทคัดย่อ

เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี  เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์  เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังแบบ Case-control study วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ในเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี 2553-2562 คำนวณกลุ่มตัวอย่างศึกษาได้ 342 คน  แบ่งออกเป็นกลุ่มเสียชีวิต  171 คนและกลุ่มไม่เสียชีวิต 171 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจีสติค (Multiple logistic regression) นำเสนอผล ค่า  Adjusted Odds Ratio (ORadj) ช่วงเชื่อมั่น 95%CI  กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

          ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ในเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยด้านบุคคลคือ ความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและปานกลาง (ORadj=61.76, 95% CI =26.31- 144.97) ปัจจัยด้านยานพาหนะ คือ การชนของรถจักรยานยนต์ถูกชนหรือชนกับรถเก๋ง ปิกอัพ หรือสามล้อ (ORadj=3.39, 95% CI =1.46-7.85) ส่วนปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น ควรมุ่งเน้นการรณรงค์ป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ กระตุ้นเด็กและเยาวชนสวมหมวกนิรภัยมาตรฐานรัดสายรัดคาง ลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ และวินัยความปลอดภัยเคร่งครัดตามกฎจราจร หรือการดูแลระบบความปลอดภัยของยานพาหนะ ลดโอกาสการถูกชนหรือชนกับยานพาหนะประเภทต่างๆ จะสามารถช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรง พิการ หรือเสียชีวิตของอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ในเด็กและเยาวชนได้

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2018 [Internet]. 2018 [Cited 15 December 2020] Available from: https://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2018/en/

องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย.การเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการชนบนถนนในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default-source/thailand/roadsafety/overview-th-final-25-719.pdf?sfvrsn=c6dc3da5_2

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. ข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/บริการด้านข้อมูล #3baseกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และมาตรการความปลอดภัยทางถนน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13751&gid=1-015-005

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์เขตสุขภาพที่ 7 [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base-status

ศูนย์ความร่วมมือด้านข้อมูลการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค.สถานการณ์จังหวัดขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base-status

งานเฝ้าระวังการบาดเจ็บ ศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น. ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนด้วยรถจักรยานยนต์ ปี 2015-2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kkh.go.th/trauma/23-years-anniversary-trauma-registry-1997-2019/

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หยุดเด็กและเยาวชนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนน [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/leaflet/(4)_หยุดเด็กและเยาวชนไทย ตายจากอุบัติเหตุ.pdf

วัชรพงษ์ เรือนคำ, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน.อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย : มุมมองทางวิทยาการระบาด. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2562; 23: 146-60.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine. 1998; 17(14): 1623–34.

ธิดา ธรรมรักษา, บุบผา ลาภทวี, อมรพล กันเลิศ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ ในผู้ประสบอุบัติเหตุจราจรในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2559; 1: 13-25.

พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, ณัฐปราง นิตยสุทธิ์, กาญจนีย์ ดํานาคแก้ว. การศึกษาทางระบาดวิทยาการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนในผู้ใช้รถจักรยานยนต์และการทบทวนมาตรการเกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2559; 47: 385-93.

ศิริกุล กุลเลียบและคณะ. การศึกษาข้อมูลการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2564].เข้าถึงได้จาก: http://www.roadsafetythai.org/uploads/userfiles/ACC_52016.pdf

Boniface R, Museru L, Kiloloma O, Munthali V. Factors associated with road traffic injuries in Tanzania. Pan African Medical Journal. 2016; 23: 46.

ฐิติพร วิชัยวงษ์, รุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่มารักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561; 21: 12-21.

จิรวิทย์ เศรษฐ์ศิวานนท์, รุจิรา ดวงสงค์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ในกลุ่มวัยรุ่นที่รับการรักษา ณ แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2560; 20: 85-97.

จริยา ละมัยเกศ, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางบก ที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2561; 1: 66-78.

จิรวัฒน์ จึงศิรกุลวิทย์. กลไกการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokhealth.com/health/article/กลไกการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร-200

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04