เปรียบเทียบการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการได้รับควันบุหรี่มือสองของประชาชน ในจังหวัดที่มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำที่สุดและสูงที่สุดของเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ชมภูนุช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  • นรา เทียมคลี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ, การได้รับควันบุหรี่มือสอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของสถานที่สาธารณะตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการได้รับควันบุหรี่มือสองของประชาชนในจังหวัดที่มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำที่สุดและสูงที่สุดของเขตสุขภาพที่ 5 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การกำหนดขนาดตัวอย่างจากการประมาณค่าสัดส่วน  จำนวน 480 คน ประกอบด้วย ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปจากจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำที่สุด และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งมีอัตราการสูบบุหรี่สูงที่สุด โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า

1)  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.1 อายุเฉลี่ย 46.0 ปี (S.D. = 17.0) อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 61.2 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.9 สถานภาพสมรส ร้อยละ 59.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 34.9 มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 44.7 และเคยสูบบุหรี่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ร้อยละ 29.1 และมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก 17.3 ปี (S.D. = 5.1)

2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของสถานที่สาธารณะตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระหว่างจังหวัดที่มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำที่สุดและสูงที่สุด พบว่า มีสถานที่สาธารณะ 2 ประเภท ที่มีการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานพยาบาล และสถานศึกษา สำหรับการได้รับควันบุหรี่มือสอง พบว่า การได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ป้ายรถเมล์/ สนามบิน/ บขส. และตลาดนัด/ตลาดกลางคืน/ ไนท์บาซ่า/ ถนนคนเดิน

          จากผลการศึกษาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ผู้ดำเนินการหรือเจ้าของสถานที่สาธารณะตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เช่น การจัดเขตปลอดบุหรี่ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

References

1. WHO. Tobacco [Internet]. 2020 [Retrieved April 2, 2020]. From https://www.who.int/health-topics/tobacco.
2. WHO. WHO report on the global tobacco epidemic, 2017 monitoring tobacco use and prevention policies. Switzerland: World Health Organization; 2017.
3. Luke C. and Kabir Z. Health Effects of Passive Smoking in Adults. In Loddenkemper R. and Kreuter M. (Eds). The tobacco epidemic. 2nd ed. pp. 110 - 120. Germany: Kraft Druck GmbH, Ettlingen; 2015.
4. Oberg M, et al. Worldwide burden of disease from exposure to second-hand smoke: a retrospective analysis of data from 192 countries. Lancet 2011; 377: 139 – 146.
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2554.
6. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.
7. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด; 2561.
8. สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารข้อเท็จจริงประเทศไทย พ.ศ. 2558 การสำรวจการบริโภคยาสูบในเยาวชนระดับโลก (GYTS) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://btc.ddc.moph.go.th/th/count-data.php?id=41&files=59-04-26-FACT-SHEET-GYTS.pdf.
9. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. สรปุ 25 ปี การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2535 – 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2560.
10. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). จำนวนประชากร [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/ new_stat/webPage/statByYear.php.
11. Danial A.C. & Veiga E.V. Factors that interfere the medication compliance in hypertensive patients. Einstein 2013; 11(3): 331-337.
12. อลงกรณ์ เปกาลี, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ภรณี วัฒนสมบูรณ์ และธราดล เก่งการพานิช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ของผู้ประกอบการร้านบริการอินเตอร์เน็ตและเกมส์ ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2556; 43 (1): 30 – 41.
13. ดวงใจ บรรทัพ และจิราพร ชมพิกุล. ปัจจัยที่ผลต่อการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 กรณีศึกษารถสาธารณะชนิดรถแท็กซี่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ; 2560.
14. วิเชียร สุภัทรกุล. การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2559; 8 (1): 57 – 66.
15. สิริกร นามลาบุตร และวรานิษฐ์ ลำไย. การประเมินประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศด้านสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ในจังหวัดหนองคาย. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4 (2): 133 – 151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29