ประสิทธิผลของกระเจี๊ยบแดงต่อความดันโลหิตในผู้ใหญ่ในวารสาร ทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เมตต้า

ผู้แต่ง

  • ฝนทิพย์ บุตระมี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • พอใจ พัทธนิตย์ธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เชษฐา งามจรัส คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความดันโลหิต, กระเจี๊ยบแดง

บทคัดย่อ

การทบทวนวรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระเจี๊ยบแดงต่อความดันโลหิตในผู้ใหญ่ ในวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ทำการสืบค้นการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย เช่น ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย รวมถึงสืบค้นด้วยมือ ถึง
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยคัดเลือกการศึกษาเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม ทั้งแบบสุ่ม และกึ่งทดลอง ที่ศึกษาผลการรับประทานกระเจี๊ยบแดงทุกรูปแบบ เปรียบเทียบกับสิ่งเปรียบเทียบอื่น เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาหลอก หรือการรับประทานสิ่งเปรียบเทียบอื่นในบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป และไม่ใช่หญิงตั้งครรภ์ ประเมินความเอนเอียงของการศึกษา ตามแนวทางของ Cochrane เวอร์ชั่น 1.0 และประเมินความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยตามแนวทางของ GRADE
อิสระต่อกันโดยผู้วิจัยสองคน สังเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Review Manager 5.4

ผลการศึกษา การสืบค้นพบรายงานวิจัย 877 รายการ สอดคล้องกับเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 4 การศึกษา โดยเป็นการศึกษาในประเทศไทย ศึกษากระเจี๊ยบแดงอย่างเดียวหรือผสมหญ้าหวาน เปรียบเทียบกับ ยาหลอกหรือยา Simvastatin ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 160 คน อายุเฉลี่ย 56.1 ปี (S.D.= 9.05) ความดันโลหิตส่วนบนและส่วนล่าง
เฉลี่ย เท่ากับ 132.0 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท) (S.D.= 10.58) และ 79.6 มม.ปรอท (S.D.= 8.50) ตามลำดับ รับประทานกระเจี๊ยบแดงตลอดการศึกษารวม 90-300 กรัม เป็นเวลา 28-90 วัน ผลการวิเคราะห์เมตต้าพบว่า 1) กระเจี๊ยบแดงอาจลดหรือไม่ลดความดันโลหิตส่วนบน (ผลต่างค่าเฉลี่ย (Mean difference; MD) = -2.84 มม.
ปรอท; 95% CI : -6.28 ถึง 0.60; I2 ร้อยละ 58; ตัวแบบสุ่ม; งานวิจัย 4 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 160 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) 2) กระเจี๊ยบแดงลดความดันโลหิตส่วนล่าง (MD = -1.32 มม.ปรอท; 95% CI : -2.82 ถึง -0.15; I2 ร้อยละ 0; ตัวแบบคงที่; งานวิจัย 4 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 160 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) 3) อาการไม่พึงประสงค์ พบ 2 อาการ คือ 3.1) ปัสสาวะบ่อย ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) 5.32; 95% CI : 1.01 ถึง 27.99; I2 ร้อยละ 24; ตัวแบบคงที่; งานวิจัย 2 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 74 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก) และ 3.2) อุจจาระเหลว ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RR) 5.71; 95% CI : 0.73 ถึง 44.58; I2 ร้อยละ 0; ตัวแบบคงที่; งานวิจัย 2 เรื่อง; ผู้เข้าร่วมการศึกษา 74 คน; ความแน่นอนของหลักฐานงานวิจัยระดับต่ำมาก)

โดยสรุปพบว่า หลักฐานที่พบมีความแน่นอนในระดับต่ำมากที่บ่งชี้ว่ากระเจี๊ยบแดงอาจลดความดันโลหิตส่วนบนและส่วนล่าง หลักฐานดังกล่าวไม่พอเพียงสำหรับหาข้อสรุปประสิทธิผลและความปลอดภัยของการรับประทานกระเจี๊ยบแดง ควรมีการศึกษาการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) ที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ดีในตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป และขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม

References

Abubakar SM, Ukeyima MT, Spencer JPE, Lovegrove JA. Acute Effects of Hibiscus Sabdariffa Calyces on Postprandial Blood Pressure, Vascular Function, Blood Lipids, Biomarkers of Insulin Resistance and Inflammation in Humans. Nutrients. 2019; 11(2): 5.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป ปี 2562. กรุงเทพฯ: สมาคมความดันโลหิตสูงแห่ง

ประเทศไทย; 2562.

Excellence NI for H and C. Hypertension: The Clinical Management of Primary Hypertension in Adults;Update of clinical guidelines 18 and 34. London: National Clinical Guideline Center; [Internet]. 2011 [Cite 17 November 2020] Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK83274/

Karnes JH, Cooper-DeHoff RM. Antihypertensive medications: benefits of blood pressure lowering and hazards of metabolic effects. Expert Rev Cardiovasc Ther. 2009 Jun; 7(6): 689–702.

McKay DL, Chen C-YO, Saltzman E, Blumberg JB. Hibiscus sabdariffa L. tea (tisane) lowers blood pressure in prehypertensive and mildly hypertensive adults. J Nutr. 2010 Feb; 140(2): 298–303.

นราพร พรหมไกรวร. แอนโทไซยานินกับประเด็นด้านสุขภาพ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (T2D). Food Chem. 2013; 43: 34–8.

Aziz Z, Wong SY, Chong NJ. Effects of Hibiscus sabdariffa L. on serum lipids: A systematic review and meta-analysis. J Ethnopharmacol. 2013; 150(2): 442–50.

กฤษณ์ พงศ์พิรุฬ, อารียา จิรธนานุวัฒน์, ภานุพงศ์ ภู่ตระกูล. สถานการณ์การวิจัยสมุนไพรไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 2562; 17(2): 292–304.

เกศนภา ถาวร, ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบการศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของกระเจี๊ยบแดง. วารสารเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์สุขภาพไทย. 2549; 1(3): 219–25.

Mendelley Ltd. Mendeley Desktop [Computer program] Version 1.19.4. 2019.

Cochrane Group. Data collection form for intervention reviews: RCTs only Version 3 [Internet]. 2014 [Cite 22 April 2020] Available

from: https://dplp.cochrane.org/data-extractionforms

The Cochrane Collaboration. Review Manager (RevMan) [Computer program] Version 5.4. 2020.

Schünemann H, Brozek J, Guyatt G OA. GRADE handbook for grading quality of evidence and strength of recommendations. The GRADE Working Group; 2013.

ฉัฐจุฑา ตั้งโคมแสงทอง, อิงอร อรุณากูร, อรุณพร อิฐรัตน์. การศึกษาเบื้องต้นถึงผลและความปลอดภัยของการใช้สารสกัดเม็ดกระเจี๊ยบแดง ในการรักษา

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับที่ 1. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 3: 914–22.

พินิต ชินสร้อย. การศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดกระเจี๊ยบลดความดันโลหิต และปัสสาวะในผู้ป่วยกลุ่มเล็ก. จังหวัดสระแก้ว; 2554.

ศศิธร แสงเนตร, ธิติมา วัฒนวิจิตรกุล, สมเกียรติ แสงวัฒนา. ฤทธิ์ขับปัสสาวะของชากระเจี๊ยบผสมหญ้าหวานเทียบกับยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ (ศรีนครินทร-วิโรฒเภสัชสาร). 2554; 6(4): 265–73.

กิตติพงศ์ วิรัตนพรกุล. ผลของการดื่มน้ำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานต่อปัจจัยเสี่ยงรวมของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

สุชาติ อรุณศิริวัฒนา. ผลของการดื่มน้ำกระเจี๊ยบและหญ้าหวานต่อภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

พรรณภัทร อินทฤทธิ์, กัมมาล กุมาร ปาวา, อรุณพร อิฐรัตน์, พินิต ชินสร้อย. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ของสารสกัด

กระเจี๊ยบแดงกับ Simvastatin ในการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2555; 12(3): 506–17.

พชระ ฐานะสถิรกุล. ผลของการดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบต่อการลดความดันโลหิตสูงระดับอ่อน: การศึกษาแบบสุ่มและปกปิดสองทางเทียบกับชาดอกกระเจี๊ยบหลอก. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Najafpour Boushehri S, Karimbeiki R, Ghasempour S, Ghalishourani S-S, Pourmasoumi M, Hadi A, et al. The efficacy of sour tea (Hibiscus sabdariffa L.) on selected cardiovascular disease risk factors: A systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. Phyther Res. 2020 Feb 1; 34(2): 329–39.

Ngamjarus C, Pattanittum P, Somboonporn C. Roselle for hypertension in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2010; (1): 1-17.

Sahebkar A, Serban C, Dragan S, Urosniu S, Florina A, Rysz J, et al. Effect of sour tea (hibiscus sabdariffa L.) on arterial hypertension: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Atherosclerosis. 2015; 241(1): e190–1.

Wahabi HA, Alansary LA, Al-Sabban AH, Glasziuo P. The effectiveness of Hibiscus sabdariffa in the treatment of hypertension:

a systematic review. Phytomedicine. 2010 Feb; 17(2): 83–6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11