การศึกษาลักษณะแสดงทางรังสีวิทยาของมะเร็งท่อน้ำดี ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชัชวาลย์ ทานตะวันสดใส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งท่อน้ำดี, การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

บทคัดย่อ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศไทย โดยพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดจากโรคได้ การตรวจทางรังสีวิทยาจึงมีความสำคัญ เพื่อประเมินลักษณะของโรคก่อนการรักษาผ่าตัด เพื่อศึกษาลักษณะทางรังสีวิทยา ชนิด ขนาดรอยโรค และการกระจายของมะเร็งท่อน้ำดี
จากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนลังของผู้ป่วยโรคโรคมะเร็งท่อ น้ำดีที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนมีนาคม
พ.ศ. 2562 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยทั้งหมด 200 ราย ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 188 ราย ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 67 ราย เป็นผู้ป่วยชาย 108 คน ผู้ป่วยหญิง 92 คน ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 31 ปี ถึง 86 ปี อายุเฉลี่ยที่ 61.6 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและอ่านภาพรังสีโดยอาศัยโปรแกรมรวบรวมภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า ชนิดมะเร็งท่อน้ำดีที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งท่อน้ำดีบริเวณในเนื้อดับ 98 ราย คิดเป็นร้อยละ 49 รองลงมาคือมะเร็งท่อน้ำดีขั้วตับ 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.5 และพบมะเร็งท่อน้ำดีนอกเนื้อตับ 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ลักษะทางรังสีวิทยาของมะเร็งท่อน้ำดีในเนื้อตับ ในภาพ CT ก้อนมะเร็งจะให้สีดำกว่าเนื้อตับปกติ คิดเป็นร้อยละ 79.8 หลังจากที่ฉีดสารทึบรังสีพบ enhancement ที่บริเวณขอบก้อน และค่อยๆเข้าไปในตัวก้อนมากขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 72.3 ในภาพ MRI ส่วนใหญ่จะให้สีดำกว่าเนื้อตับปกติ ในภาพ T1 weighted image และสีขาวกว่าเนื้อตับปกติในภาพ T2 weighted image คิดเป็นร้อยละ 85.0 และ 92.5 ตามลำดับ การ enhancement ส่วนมากเป็นเช่นเดียวกับในภาพ CT คิดเป็นร้อยละ 76.2 มะเร็งท่อน้ำดีบริเวณขั้วตับเกือบทั้งหมดเป็นแบบ periductal type คิดเป็นร้อยละ 95 ซึ่งทั้งในภาพ CT และ MRI จะพบลักษณะท่อน้ำดีตีบแคบและมีผนังท่อน้ำดีหนา ตัว และมีการ enhancement ของผนังท่อน้ำดีทั่ว ๆ และพบ intraductal type เพียงร้อยละ 5 ลักษณะทางรังสีวิทยาของมะเร็งท่อน้ำดีนอกเนื้อตับ พบท่อน้ำดีตีบแคบและมีผนังหนาร้อยละ 92.8 มีการ enhancement เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.7 ขอบเขตไม่ชัดเจนร้อยละ 64.3 ตีบแคบไม่สสม่ำเสมอร้อยละ 71.4 และ ตีบแคบทันทีร้อยละ 100 ความยาวเฉลี่ย 18 มิลลิเมตร
และความหนาเฉลี่ย 4 มิลลิเมตร ลักษณะทางรังสีวิทยาอื่นๆ ที่พบร่วมกับมะเร็งท่อน้ำดีพบการลุกลามเส้นเลือดร้อยละ 47 ท่อน้ำดีขยายร้อยละ 90 การดึงรั้งขอบตับร้อยละ 21.5 กลีบตับฝ่อร้อยละ 12 การกระจายของมะเร็งในเนื้อตับร้อยละ 32.5 การกระจายของมะเร็งไปต่อมน้ำเหลืองร้อยละ 40 การลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงร้อยละ 6.5 และการกระจายมะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆร้อยละ 31.5 ผู้ป่วยที่ประเมินด้วยการตรวจทางรังสีแล้วไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 61 การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความแม่นยำในการประเมินชนิดและขนาดรอยโรคของมะเร็งท่อน้ำดี สามารถช่วยประเมินเพื่อวางแผนการรักษาและผ่าตัด มะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่มี
ลักษณะทางรังสีที่เฉพาะตัวตามชนิด อย่างไรก็ตามมะเร็งท่อน้ำดีบางรายอาจมีลักษณะทางรังสีที่ไม่จำเพาะ คล้ายกับภาวะอื่นจึงควรตระหนักและใช้ความระมัดระวังในการแปลผล

References

วลัยลักษณ์ ชัยสูตร, ณสุดา ด่านชัยวิจิตร, กอบกุล เมืองสมบูรณ์, นิธิดา ณ สงขลา, โสภา พงศ์พรทรัพย์. Oncologic imaging ภาพวินิจฉัยโรคมะเร็ง. พิมพ์

ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2552: 238-55.

Sriamporn S, Pisani P, Pipitgool V, et al. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection and incidence of cholangiocarcinoma in Khon Kaen, Northeast Thailand. Trop Med Int Health 2004: 9(5): 588-94.

Cancer research foundation for national cancer institute. Cancer in Thailand volume III; 2003: 34-7.

Watanapa P. Cholangiocarcinoma in patients with opisthorchiasis. Br J Surg. 1996; 83(3): 1062-4.

Kim TK, Choi BI, Han JK, et al. Peripheral cholangiocarcinoma of the liver: two-phase spiral CT findings. Radiology. 1997; 204(2): 539–43.

Valls C, Guma A, Puig I, et al. Intrahepatic peripheral cholangiocarcinoma: CT evaluation. Abdorn Imaging 2000; 25(5): 490-6.

Manfredi R, Barbaro B, Masselli G, et al. Magnetic resonance imaging of cholangiocarcinoma. Semin Liver Dis. 2004; 24(2): 155–64.

Kim JY, Lee JM, Han JK, et al. Contrast-enhanced MRI combined with MR cholangiopancreatography for the evaluation of patients with biliary strictures: differentiation of malignant from benign bile duct strictures. J Magn Reson Imaging. 2007; 26(2): 304–12.

Choi SH, Han JK, Lee JM, et al. Differentiating malignant from benign common bile duct stricture with multiphasic helical CT. Radiology. 2005; 236(1): 178-83.

Park MS, Kim TK, Kim KW, et al. Differentiating of extrahepatic bile duct cholangio carcinoma from benign stricture: findings at MRCP versus ERCP. Radiology. 2004; 233(1): 234-40.

Yu XR, Huang WY, Zhang BY, et al. Differentiating of infiltrative cholangiocarcinoma from benign common bile duct stricture using three-dimension dynamic contrast-enhanced MRI with MRCP. Clin Radiol. 2014; 69(6): 567-73.

Gerd Otto , Bernd Romaneehsen, Maria Hoppe-Lotichius, Fernando Bittinger J, et al. Hilar cholangiocarcinoma: resectability and radicality after routine diagnostic imaging. Hepatobiliary Pancreat Surg. 2004; 11(5): 310-8.

Hongchen Zhang, Jian Zhu, Fayong Ke, Mingzhe Weng, Xiangsong Wu, Maolan Li, et al. Radiological Imaging for Assessing the Respectability of Hilar Cholangiocarcinoma: A Systematic Review and Meta-Analysis. Biomed research international. 2015; 190(2): 396–405.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11