การประเมินต้นทุนการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำหรับแรงงานนอกระบบ : เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ต้นทุนต่อหน่วย, การจัดบริการอาชีวอนามัยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำหรับแรงงานนอกระบบ: เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอบ้านแฮด จำนวน 4 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกต้นทุน รวบรวมข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2559 ถึง เดือนธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) จำนวนบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สูงสุด จำนวน 8 คน ต่ำสุด จำนวน 6 คน ประเภทของบุคลากรสูงสุดคือ ลูกจ้าง ประเภทบุคลากรต่ำสุดคือ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข ต้นทุนค่าแรงสูงสุด ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย จำนวน 1,993,480.00 บาท ต่ำสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง จำนวน 1,689,340.00 บาท ต้นทุนค่าวัสดุสูงสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแซง จำนวน 484,922.00 บาท ต่ำสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง จำนวน 159,569.97 บาท ต้นทุนครุภัณฑ์สูงสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขามเปี้ย จำนวน 633,034.81 บาท ต่ำสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง จำนวน 202,221.21 บาท ค่าสาธารณูปโภคสูงสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแซง จำนวน 62,107.60 บาท ต่ำสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง จำนวน 47,709.27 บาท ต้นทุนค่าอาคารสูงสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง จำนวน 197,020.00 บาท ต่ำสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสำราญ จำนวน 147,458.00 บาท ต้นทุนรวมสูงสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านขามเปี้ย จำนวน 3,090,022.54 บาท ต่ำสุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแซง จำนวน 2,021,500.88 บาท 2) ต้นทุนต่อหน่วยการจัดบริการอาชีวอนามัยพื้นที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยกิจกรรมอาชีวอนามัยเชิงรับ ได้แก่ การซักประวัติการเจ็บป่วยและลักษณะการทำงาน ต้นทุนเฉลี่ย 45.02 บาท กิจกรรมประเมินความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ หรือการคัดกรองสุขภาพตามความเสี่ยง ต้นทุนเฉลี่ย 35.25 บาท การวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาล โรคจากการประกอบอาชีพเบื้องต้นหรือการส่งต่อเพื่อการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม ต้นทุนเฉลี่ย 43.30 บาท กิจกรรมบันทึกและรายงานโรคจากการประกอบอาชีพลงในระบบข้อมูลพื้นฐานของหน่วยบริการฯ ต้นทุนเฉลี่ย 34.61 บาท และกิจกรรมการให้อาชีวสุขศึกษา และการให้คำปรึกษา เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาและสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของแรงงานในชุมชน ต้นทุนเฉลี่ย 35.57 บาท และกิจกรรมอาชีวอนามัยเชิงรุก ได้แก่ การสำรวจกลุ่มแรงงานนอกระบบ ต้นทุนเฉลี่ย 173.00 บาท กิจกรรมประเมินความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพโดยใช้แบบประเมินและสรุปผลความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (กิจกรรมเจาะเลือดเกษตรกร) ต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ 190.16 บาท กิจกรรมสร้างเครือข่ายในหมู่บ้าน เพื่อร่วมจัดการปัญหาที่เกิดจากการประกอบอาชีพในกลุ่มแรงงานนอกระบบ ต้นทุนเฉลี่ย 621.96 บาท กิจกรรมการเฝ้าระวัง โดยประเมินความเสี่ยง/ ติดตามให้มาตรวจ/ ประเมินผลและสรุปผล ต้นทุนเฉลี่ย 621.96 บาท
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2558.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกร. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกําจัดศัตรูพืชประจำปี 2558 “ฝ่าวิกฤตสารเคมีกําจัดศัตรูพืช : สถานการณ์และแนวทางการจัดการตลอดห่วงโซ่”;26 มีนาคม 2558;ศูนย์ประชุมสถาบันจุฬาภรณ์.กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2558.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการอาชีว อนามัย: คลินิกสุขภาพเกษตรกร. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข;2557.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, เกษร แถวโนนงิ้ว, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง. ระบบบริการดูแลสุขภาพแรงงานนอกระบบอย่างมีส่วนร่วมในหน่วยบริการปฐมภูมิ : กรณีศึกษาคนทำไร่อ้อย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2552.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. การพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยในหน่วยบริการปฐมภูมิสำหรับแรงงานนอกระบบ สำหรับแรงงานนอกระบบ. ม.ป.ท.: 2555.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
อาทร ริ้วไพบูลย์. การประเมินต้นทุน. ใน: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์, บรรณาธิการ. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
บรรเทิง เฉียงกลาง. บทสรุปวิเคราะห์ต้นทุนอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2555 [Internet]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://www.nongkihealth.com/Document/Strategy/unitcost/TontunNongki_2555_2.pdf
ดำรง สีระสูงเนิน, ประเสริฐ เก็มประโคน. การศึกษาต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24:296-304.
โสภาพรรณ จิรนิรัติศัย, สงกรานต์ ดีรื่น. ต้นทุนการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม เพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์. วารสารควบคุมโรค 2559; 43(2):290-303.
ศูนย์พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัยจังหวัด สมุทรปราการ. สรุปผลการศึกษาต้นทุนการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2555. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น