ประสบการณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้าของวัยรุ่นหญิง ในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ประสบการณ์, วัยรุ่นหญิง, บุหรี่ไฟฟ้าบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการตีความ (Hermeneutic Phenomenology) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ การให้ความหมาย และวิถีการนำสู่สูบบุหรี่ไฟฟ้าของวัยรุ่นหญิงในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จำนวน 6 คน (อายุระหว่าง 18-21 ปี) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและการบอกต่อ (Snow ball sampling) รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจนข้อมูลอิ่มตัว และวิเคราะห์ตามแนวทางของ Colaizzi
พบว่า วัยรุ่นหญิงรับรู้และให้ความหมายของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในด้านบวกจะมีน้ำหนักมากกว่าด้านลบ โดยบุหรี่ทำให้ไม่มีความแตกต่างและมีความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ สูบได้ทุกแห่งเพราะมีกลิ่นหอมติดตัวและเมาง่าย มีความมั่นใจในตนเองในสังคมกลุ่มเพื่อน ไม่เชย ดูมีฐานะ เป็นผู้นำมั่นใจในตัวเอง ทำให้ลดน้ำหนักและเลิกสูบบุหรี่แบบมวนธรรมดาได้และคลายเครียด ส่วนด้านลบ คือ เป็นสิ่งเสพติดมีผลเสียต่อสุขภาพ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้เสียเงิน รายได้ลดลงและเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ส่วนวิถีหรือเส้นทางการสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่การสัมผัสบุหรี่ไฟฟ้าจนกระทั่งการติด มีจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) อยากลอง: เป็นการอยากลองตามคำชวนของเพื่อนหรือคนใกล้ตัวซึ่งเป็นของแปลกที่ดูดี ลองแล้วติดเนื่องจากความแปลกใหม่ของน้ำยาและอุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถจะสูบได้ทุกแห่งที่ต้องการ 2) อยากเลียนแบบ: เป็นความรู้สึกอยากเก่งเท่าเทียมเพื่อนชาย ดูเท่ห์และต้องการมีตัวตนในกลุ่มเพื่อน และ 3) ตั้งใจที่จะสูบ: เพื่อให้ลดความเหงาและคลายเครียด ถึงแม้ว่าวัยรุ่นหญิงรับรู้ว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลเสียด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังมีความนิยมอย่างมากจากภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัย ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ปกครอง บุคลากรสุขภาพ และครูในสถานศึกษา ควรร่วมมือกันหาแนวทางเพื่อลด ละ เลิกการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มวัยรุ่นหญิง เช่น ครอบครัวควรเป็นตัวอย่างที่ดีไม่สูบ พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับความเสี่ยงบุหรี่ไฟฟ้า สถานศึกษาร่วมมือกับบุคลากรสุขภาพจัดทำหลักสูตรให้ความรู้แก่วัยรุ่นหญิงโดยเน้นผลเสียที่เกิดต่อสุขภาพ การออกข้อบังคับใช้ห้ามสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา การหาแนวทางที่สร้างความรู้สึกยับยั้งใจในการเข้าสู่วิถีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของวัยรุ่นหญิง รวมทั้งควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาบังคับใช้อย่างเข้มงวดทั้งผู้สูบและผู้ขาย
References
Pearson J, Richardson A, Niaura R, Vallone D, Abrams D. E-cigarette awareness use and harm perception in US adults. American Journal of Public Health 2012; 102(17): 58-66.
ชนิกา เจริญจิตต์กุล.บุหรี่ไฟฟ้า: ภัยเงียบของวัยรุ่น E-cigarette: Silent Dangers to Youth. Journal of the Royal Thai Army Nurses 2557; 15(3): 149–54.
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. โครงการศึกษาผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการจากภาครัฐ [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaitobacco.or.th/th/wp-content/uploads/2015/07/ 140305_ECIG-Report-Template_V28.pdf.
กันยพัชร์ เศรษฐ์โชฎึก. บุหรี่ไฟฟ้า: ภัยคุกคามสุขภาพของวัยรุ่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(6):1076.
นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร.บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงโรคปอดอักเสบ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://news.thaipbs.or.th/content/284391?read meta=%7B%22label%22%3A%22articlepage_number2%22%2C%22group%22%3A%22NA%22%7D.
ฐิติมา โกศัลวิตร.วัยรุ่นหญิงไทยกับความเห็นเกี่ยวกับบุหรี่และการสูบบุหรี่ในผู้หญิง [วิทยานิพนธ์ป ริ ญ ญ า ศิ ล ป ศ า ส ต ร ม ห า บั ณ ฑิ ต ส า ข า วิ ช าสังคมศาสตร์และการพัฒนา]. จังหวัดอุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2549.
ธีรยุทธ หล้าคำภา. ปัจจัยที่ส่งผลให้สูบบุหรี่ไฟฟ้า: กรณีศึกษานักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น [การวิจัยในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน]. จังหวัดขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร; 2563.
พงศ์ธร นาคอก. การให้ความหมายต่อทัศนคติและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของวัยรุ่นหญิงในสถานศึกษาจังหวัดขอนแก่น [การวิจัยในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน]. จังหวัดขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร; 2563.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, ประสบชัย พสุนนท์. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต 2559; 29(2): 37.
วรกิจ คาโดซาว่า. ควันจากน้ำ: ทัศนคติและการบริโภคเชิงสัญลักษณ์ของผู้บริโภคต่อบุหรี่ไฟฟ้า [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
อัญญา ปลดเปลื้อง. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา, Data Analysis in Phenomenology Studies. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2556; 23(2): 1–10.
Creswell JW. Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches 3rd ed. Thousand Oaks, CA: Sage Publications, Inc.; 2013.
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: ricd.go.th› plugins› includes› download.
Piñeiro B, Correa JB, Simmons VN, Harrell PT, Menzie NS, Unrol M, et al. Gender Differences in Use and Expectancies of E-Cigarettes: Online Survey Results. Addictive Behaviors [Internet]. 2016 [Cited 18 October 2020].Available from: Sciencedirect.com/science/article/abs/pii/s0306460315300174via%3Dihub.
กมลพร ยศนันท์. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 2563; 3(4): 446-7.
พิชญ์เนตร เรขะวิชัยดิษฐ์. มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า [วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น