การพัฒนารูปแบบการลดการบริโภคเค็มในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
ลดเค็ม, การบริโภคเค็ม, สงสัยป่วย, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มสงสัยป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประยุกต์แนวคิดของ Kemmis และ McTaggart เพื่อพัฒนารูปแบบการลดการบริโภคเค็มในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ร่วมพัฒนารูปแบบซึ่งเป็นทีมพี่เลี้ยงในชุมชน 2) กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงใน 18 ชุมชน จำนวน 50 คนต่อชุมชน รวม 900 คน ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการระหว่าง ตุลาคม 2561–กันยายน 2562 ระยะที่ 1 เตรียมการก่อนการวิจัย การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ระยะที่ 2 ดำเนินการ ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติ สังเกตการณ์ และสะท้อนผลลัพธ์ ด้วยกระบวนการ 6 เครือข่าย (ญาติ ผู้ประกอบการร้านค้า อสม. ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) 6 ขั้นตอน 1) การจัดตั้งคณะทำงาน 2) ประเมินและวิเคราะห์ชุมชน 3) จัดทำแผนชุมชนลดเค็ม 4) ติดตามกลุ่มสงสัยป่วย เน้นการเยี่ยมบ้านเสริมพลัง และสุ่มวัดระดับความเค็มในอาหาร 5) ระบบการเฝ้าระวังในชุมชน และ 6) การควบคุมและติดตาม ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผลลัพธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การตรวจร่างกาย และวัดระดับความเค็มในอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ และปริมาณโซเดียม ก่อนและหลังดำเนินการด้วย Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการลดการบริโภคเค็มในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 เครือข่าย 6 ขั้นตอน ในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง อายุเฉลี่ย 56.29 ปี (SD 11.05 ปี) หลังทดลองใช้รูปแบบ คะแนนความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 3.35; 95%CI 3.18-3.52, p-value<0.001) ปริมาณโซเดียมในอาหารก่อนดำเนินการมีค่าเฉลี่ย 413.42 มิลลิกรัม (SD 125.42) หลังดำเนินการมีค่าเฉลี่ย 303.82 มิลลิกรัม (SD 116.98) โดยค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมในอาหารลดลง ร้อยละ 70.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 109.60; 95%CI 101.90-117.29, p-value<0.001) จะเห็นว่า รูปแบบการลดการบริโภคเค็มในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการลดการบริโภคเค็ม เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ และมีรูปแบบการทำงานไร้รอยต่อและทิศทางเดียวกัน
References
World Health Organization. (2013). Global Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization.
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs) . นนทบุรี. 2561.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: www.thaincd.com/2016/mission/documents- detail.php?id=13486&tid=32&gid=l-020
ยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียม ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568. กระทรวง สาธารณสุข; 2559.
Health Data Center. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT, CVD).https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php7cat_id=b2b59e64c4e6c92d4blecl6a599d882b เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. Australia: Deakin University Press; 1988.
Kuder G, Richardson M. The theory of estimation of test reliability. Psychometrika;1937.
Bloom BS. Taxonomy of EducationalObjectives The Classification of Educational Goals. New York: David Mckay Company; 1972.
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, ขนิษฐา ศรีสวัสดิ์, ประภัสรา บุญทวี.การวิจัยทดลอง การใช้ชุดมาตรการลดบริโภคเค็มในชุมชนต้นแบบ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2563;16(3):39-48.
พรทิพย์ นิ่มขุนทด. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็มกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559.
ชลธิชา บุญศิริ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารลดโซเดียมต่อความรู้และปริมาณโซเดียมในการปัสสาวะของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2560.32(3):119-34; 2560.
กาญจนา มณีทัพ, สมจิต แดนสีแก้ว. สถานการณ์การบริโภคเกลือของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลทางขวาง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560. 35(4): 139-49.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. ลดเค็ม พิชิตภัยเงียบ [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf.
Irwan MA, Kato M, Kitaoka K, Ueno E, Tsujiguchi H, Shogenji M. Development of the salt reduction and efficacy-maintenance program in Indonesia. Nursing and Health Sciences 2016. 18:519–532.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น