ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา จังหวัดหนองคาย ช่วงปี พ.ศ.2558-2562

ผู้แต่ง

  • ธนกร สนั่นเอื้อ เวชกรรมสังคม รพ.หนองคาย

คำสำคัญ:

ระบาดวิทยา, โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional descriptive study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงพรรณนาทางระบาดวิทยา (บุคคล สถานที่ เวลา) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับอาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ประชากรที่ศึกษา เจาะจงศึกษาผู้ที่เคยป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา จำนวน 47 คน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รายงานการสอบสวนผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาและแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดยใช้สถิติ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) และ Chi-Square Tests (c2) ผลการวิจัยพบว่า ด้านบุคคลพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิก้าทั้งหมด จำนวน 47 คน ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 63.8 อายุ 25-44 ปี ร้อยละ 42.6 อาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 27.7 นักเรียน ร้อยละ 25.5 และอาชีพรับจ้าง/กรรมกร ร้อยละ 21.3 ตามลำดับ ด้านสถานที่อยู่ มีรายงานผู้ป่วยมากที่สุดอยู่ในอำเภอโพธิ์ตาก จำนวน 22 คน ร้อยละ 46.8 อำเภอรัตนวาปี จำนวน 13 คน ร้อยละ 27.7 อำเภอโพนพิสัย จำนวน 10 คน ร้อยละ 21.3 และอำเภอเฝ้าไร่ จำนวน 2 คน ร้อยละ 4.3 ตามลำดับ ด้านเวลา ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาปีพ.ศ. 2558 และ 2561 ไม่มีรายงานผู้ป่วย มีผู้ป่วยเริ่มตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2559, 2560 และ 2562 โดยรวมพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดในเดือนกรกฎาคม พฤษภาคม และกันยายน ปีพ.ศ. 2559 มีผู้ป่วย จำนวน 11 คน พบมากในเดือนกรกฎาคม จำนวน 6 คน รายแรกเริ่มป่วยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 รายสุดท้ายวันที่ 14 กันยายน 2559 ปีพ.ศ. 2560 มีผู้ป่วย จำนวน 12 คน รายแรกวันที่ 1 มกราคม 2560 รายสุดท้ายวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 พบมากเดือนพฤษภาคม จำนวน 4 คน ปีพ.ศ. 2562 มีผู้ป่วย จำนวน 24 คน รายแรกวันที่ 23 มกราคม 2562 รายสุดท้ายวันที่ 27 ตุลาคม 2562 พบมากเดือนกันยายน จำนวน 19 คน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในช่วง 14 วันก่อนเริ่มป่วย พบว่ามีผู้สัมผัสผู้ป่วย ร้อยละ 68.1 รองลงมาคือ บ้านที่อยู่ในรัศมีบ้านผู้ป่วยสงสัย/ยืนยันโรคซิกา 51 - 100 เมตร ร้อยละ 42.6 และเดินทางไปในพื้นที่มีประวัติเสี่ยง ร้อยละ 36.2 ตามลำดับ มีผู้ติดเชื้อไวรัสซิการายใหม่ที่มีผู้สัมผัสร่วมบ้าน 1-2 คน ร้อยละ 93.6 และมีหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้าน ร้อยละ 6.4 ด้านลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค (Vector) สำรวจในช่วงวันแรกหลังป่วย พบลูกน้ำยุงลายในระดับสูงเกินเกณฑ์ทั้งในบ้าน (เฉลี่ย HI =36.8) ชุมชน (เฉลี่ย HI =19.9) ศาสนสถาน (เฉลี่ย CI =30.9) และโรงเรียน (เฉลี่ย CI =39.3) และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านเพศ ได้แก่ อาการปวดข้อ/ปวดกล้ามเนื้อ (p=0.019) อ่อนเพลีย (p=0.002) สถานที่อยู่ ได้แก่ อาการปวดข้อ/กล้ามเนื้อ (p=0.013) โดยทุกอาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอายุ และอาชีพ สรุป ความเสี่ยงด้านการกระจายของโรคตามบุคคล เวลา และสถานที่ มีความสัมพันธ์กับอาการของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษาโรคไข้ซิกา (Zika virus disease) สำหรับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. คณะกรรมการวิชาการด้านการรักษาพยาบาลโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (1); 2559: 1-9.

กรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เรื่อง โรคไข้ซิกา (Zika virus disease). สำนักระบาดวิทยา; 2559: 1-3. <ออนไลน์>[เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2563]. จาก: http://beid.ddc.moph.go.th

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวัง รง. 506 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี; 2562.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังเหตุการณ์ และควบคุมโรคระบาดในชุมชน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559: 1-5.

กรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เรื่อง โรคไข้ซิกา (Zika virus disease). สำนักระบาดวิทยา; 2559: 1-3. <ออนไลน์>[เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2563]. จาก: http://beid.ddc.moph.go.th

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) ประจำวันที่ 15 พฤษภาคม 2560. <ออนไลน์>[เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://beid.ddc.moph.go.th

กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส Zikaสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2559.นนทบุรี: สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

จุไร วงศ์สวัสดิ์, ปฐมา สุทธา, สุมนมาลย์ อุทยมกุล, สุมาลี ชะนะมา, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. อุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ป่วยที่สงสัยไข้เดงกี่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(4): 564-571.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus infection).นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559:1-7.

นวลปราง ประทุมศรี. การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เขตสุขภาพที่ 4 ประเทศไทย, กันยายน-ธันวาคม 2559. สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2559.

Zambranaa JV, Carrillob FB, Calderona RB, Colladoa D, Sancheza N, Ojedaa S, et al. Seroprevalence, risk factor, and spatial analyses of Zika virus infection after the 2016 epidemic in Managua, Nicaragua. PNAS 2018; 115(37): 9294–99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30