การรายงานข้อมูลโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร: กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
Occupational disease, Pesticide poisoning, Planting farmers, ICD10, T60.0-T60.9บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรายงานโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ปัญหาและอุปสรรคในการรายงานข้อมูล โดยใช้กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูล 43 แฟ้มของสถานบริการสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด 1 มกราคม พ.ศ.2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และใช้แบบสอบถามด้านปัญหาและอุปสรรคในการรายงานโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จากผู้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและลงรหัสโรค ICD10 ของสถานบริการสุขภาพ จำนวน 150 คน สรุปจำนวนรายงานผู้ป่วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปัญหาและอุปสรรคการรายงานโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผลการศึกษาพบว่ามีรายงานผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เข้ารับบริการรักษาในช่วงเวลาที่ศึกษา ด้วยรหัสวินิจฉัยโรค T60.0 - T60.9 จำนวน 370 ราย ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 175 ราย (ร้อยละ 47.30) เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 54.32 และรองลงมา คือ รพ.สต. ร้อยละ 23.78 มีผลรายงานตาม ICD-10 ตามด้วยรหัสรอง Y96 และY97 ร้อยละ 45.14 และรหัสเสริม X48 ร้อยละ 17.84 แต่บันทึกไม่ถูกต้อง และไม่พบการรายงานการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพตามแบบรายงาน 506/2 กลุ่มที่ 10โรคพิษจากสารเคมีการเกษตร ผู้รับผิดชอบงานบันทึกและลงรหัสโรค ICD-10 รายงานปัญหาและอุปสรรคการลงรหัสโรค ร้อยละ 50.67 และมีเจ้าหน้าที่เพียง 1 คนที่ทำหน้าที่ ร้อยละ 60.67 ปัญหาและอุปสรรคระดับสูงด้านบุคคลากร คือ เจ้าหน้าที่มีภาระงานรับผิดชอบหลายอย่าง และขาดความรู้ ความเข้าใจในการลงรหัสโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และไม่ได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้ ในการลงรหัสโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นจึงควรมีนโยบายด้านการกำหนดตำแหน่งงานหรือบุคคลทำหน้าที่งานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม หรือพัฒนาทักษะผู้รับผิดชอบงาน ซึ่งจะมีผลต่อความครบถ้วน ความถูกต้องของข้อมูล และการรายงานที่มีความจำเป็นต่อการนำผลการนำเสนอนี้เพื่อการวางแผนและจัดทำนโยบายในภาพรวมของทั้งประเทศด้านการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในเกษตรกรได้ต่อไป
References
2. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. [ออนไลน์] 2560. [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562] เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/72.
3. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2559.เข้าถึงได้จาก hdc.moph.go.th/contents/view /561http://envocc. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2560.
4. ทอง บุญยศ. (2559). คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center – HDC). เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559.เข้าถึงได้จากจาก http://data2kthai.blogspot.com/2016/06/health-data-center-hdc.html
5. สุนิสา ชายเกลี้ยง. การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2562.
6. สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด; 2559.
7. วิลาสิณี ทองบุ พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกของพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ด : กรณีศึกษาพื้นที่โซนใต้. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560;12(2): 41-52.
8. สุภาพร ทุยบึงฉิม และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ คุณภาพข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จังหวัดอุดรธานี ปี 2549-2550. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2551, 16(1).
9. สุนิสา ชายเกลี้ยง สัญญา พึงสร้างแป้น พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และกรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. ความชุกและความรุนแรงของโรคจากการทำงานในเกษตรกรปลูกพืชไร่จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562, 26(1): 77-86.
10. เกษร แถวโนนงิ้ว, เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, อารยา จันทร์ขวาง, จินตวัฒน์ บุญกาพิมพ์และกิตติพิชญ์ จันที. (2557). การดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2), 97–105.
11. สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
12. พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. วิทยาการระบาดและควบคุมโรค (พิมพ์ครั้งที่ 9). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น