วิทยาการระบาดผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ธัญญามาศ ทีงาม คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วิทยาการระบาด, โรคพิษสุนัขบ้า, ยางสีสุราช

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิทยาการระบาดของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า  อำเภอยางสีสุราช   จังหวัดมหาสารคาม                    เก็บรวบรวมข้อมูลโดยคัดลอกข้อมูลจากรายงานการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ร.36) ของผู้สัมผัสโรค                พิษสุนัขบ้า  จำนวน 773 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษาพบว่า   ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้ารับวัคซีนครบตามเกณฑ์  ร้อยละ 79.30                          โดยพบเพศชาย ร้อยละ 51.23  มีอายุ 5-14 ปี  ร้อยละ 19.15  สถานภาพสมรส/คู่ ร้อยละ 54.72  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร  ร้อยละ 48.12  อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลยางสีสุราช  สัมผัสโรคมากที่สุดในเดือนเมษายน  สิทธิการรักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ร้อยละ 93.53  ถูกสัมผัสที่บริเวณขา  ลักษณะบาดแผลมีเลือดออก  สัมผัสโรคโดยถูกกัด  ร้อยละ 90.82  สุนัขเป็นสัตว์นำโรค  ร้อยละ 81.37  มีอายุมากกว่า 1 ปี  เป็นสัตว์ที่มีเจ้าของ  สามารถกักขังได้/ติดตามได้  และไม่ตายภายใน 10 วัน   ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  สาเหตุการถูกสัมผัสโดยมีสาเหตุโน้มนำ  ร้อยละ 60.54  และไม่มีการส่งหัวสัตว์ตรวจ ร้อยละ 100  มีการล้างแผลก่อนพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ร้อยละ 78.78  ซึ่งล้างด้วยน้ำและสบู่/ผงซักฟอก  ร้อยละ 80.79  ไม่ได้ใส่ยาฆ่าเชื้อก่อนพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข   ร้อยละ 69.34  ไม่เคยฉีดหรือเคยฉีดน้อยกว่า 3 เข็ม  ส่วนใหญ่ไม่ได้ฉีดอิมมูโนโกลบุลิน(RIG)  ร้อยละ 98.97  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  ชนิด PCEC  ร้อยละ 100  ส่วนใหญ่โดยวิธี เข้าในผิวหนัง  และไม่มีอาการแพ้หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครบตามเกณฑ์ แต่ยังมีบางส่วนที่รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์  ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการสื่อสารให้ความรู้เน้นการป้องกันไม่ให้ถูกสัตว์กัด ด้วยคาถา 5 ย  การปฏิบัติตัวเมื่อถูกสัตว์กัด  ข้อดีข้อเสียของการรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  และควรพัฒนาระบบการติดตามการรับวัคซีน  เพื่อป้องกันการลืมนัดของผู้สัมผัสโรค       และลดปัญหาการฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-13