การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2560
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวัง, เลปโตสไปโรสิสบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study)เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณ (Quantitative study) และคุณลักษณะเชิงคุณภาพ (Qualitative study) ของระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2560 ทำการสุ่มโรงพยาบาลรัฐ จำนวน 9 แห่ง โดยวิธี Stratified random sampling ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคเลปโต-สไปโรสิส ผู้ป่วยโรคที่มีอาการใกล้เคียง และสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ เปรียบเทียบกับรายงานโรคเลปโตสไปโรสิสจากระบบเฝ้าระวัง (รายงาน 506)
ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนการค้นเวชระเบียนพบ จำแนกตามกลุ่มโรค คือ โรคเลปโตสไปโรสิส 42 ราย (100.00%) โรคที่มีอาการใกล้เคียง 709 ราย (100.00%) และโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ 1,036 ราย (8.98% คิดเป็น 100.00% ของขนาดตัวอย่างที่คำนวณ) ค่าความไวของระบบเฝ้าระวัง (Sensitivity) เท่ากับ 30.56% (95%CI=16.35%-48.11%) ค่าพยากรณ์ผลบวก (Positive predictive value) เท่ากับ 26.19% (95%CI=13.86%-42.04%) ความทันเวลา เท่ากับ 100.00% (Median=1.12 day, Range 3 day) คุณภาพของข้อมูลมีความครบถ้วน 100.00% แต่ความถูกต้องต่ำ ระบบเฝ้าระวังมีความง่ายและมีความความยืดหยุ่นสูง ยกเว้นในโรงพยาบาลขนาดเล็ก บุคลากรที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นโรคที่สำคัญต้องเฝ้าระวัง
จากผลการศึกษาในครั้งนี้ พบค่าความไวและค่าพยากรณ์บวกของการรายงานโรคอยู่ในระดับต่ำ ความครบถ้วนและความทันเวลาอยู่ในระดับดี มีการนำข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังไปใช้ในการควบคุมป้องกันโรค แต่เนื่องจากมีการรายงานโรคในระบบค่อนข้างน้อย ทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน จึงควรมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคโดยเร็ว
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น