ระดับความไวต่อสารเคมีของลูกนำและยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ปี 2552
คำสำคัญ:
ยุงลาย, สารเคมี, การทดสอบความไวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังความไวของยุงลาย Aedes aegypti ต่อสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกในระยะลูกน้ำและยุงตัวเต็มวัยด้วยวิธี susceptibility test โดยเก็บลูกน้ำยุงจากพื้นที่เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และนอกเขตเทศบาลในเขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นในปี 2552 มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการให้ได้ลูกรุ่นที่ 1 (F1) จากนั้นนำลูกน้ำมาทดสอบกับสารละลาย temephos และนำยุงตัวเต็มวัยทดสอบกับกระดาษชุบสารเคมี4 ชนิดได้แก่ permethrin 0.75%, deltamethrin 0.05%, malathion 5% และ propoxur 0.1% ทดสอบตามวิธีมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เปรียบเทียบกับยุงลายสายพันธุ์มาตรฐาน (Bora bora strain)ผลการศึกษาพบว่า ลูกน้ำยุงลายมีแนวโน้มดื้อต่อสาร temephos 0.02% ซึ่งเป็นความเข้มข้นมาตรฐานสำหรับการทดสอบความไว ส่วนสาร temephos 1% เป็นความเข้มข้นที่ใช้ในการควบคุมลูกน้ำพบว่าทุกพื้นที่ยังไวต่อสารเคมีชนิดนี้โดยมีอัตราตายร้อยละ 99-100 สำหรับความไวของยุงตัวเต็มวัยต่อสารเคมีเมื่อเปรียบเทียบกับยุง Bora borastrain พบว่า ยุงลายดื้อต่อสาร permethrin 0.75% เกือบทุกพื้นที่โดยมีอัตราตายร้อยละ 38-75 ส่วนสาร deltamethrin0.05% และสาร malathion 5% พบว่ายุงส่วนมากมีความไวอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง (ร้อยละ 82-100) ยกเว้นยุงลายนอกเขตเทศบาลจังหวัดร้อยเอ็ดที่ต้านทานต่อสารทั้งสองชนิดโดยมีอัตราตายร้อยละ 68 และ 72 สำหรับ
สาร propoxur 0.1% พบว่ายุงต้านทานต่อสารในบางพื้นที่ได้แก่ ในเขตเทศบาลเมืองและนอกเขตเทศบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ หนองคาย เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด ในเขตเทศบาลตำบลและนอกเขตเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู และยุงลายในพื้นที่ทั้งสามแห่งของจังหวัดอุดรธานี และเลย โดยที่ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าแนวโน้มการต้านทานของยุงต่อสารกำจัดแมลงเพิ่มมากขึ้นและขยายพื้นที่ออกไป สาเหตุหนึ่งมาจากปัจจุบันมีการนำสารกำจัดแมลงมาใช้ควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีหลากหลายชนิด ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือนำสารเคมีชนิดเดิมมาใช้ซ้ำในพื้นที่เป็นเวลานานย่อมเป็นสาเหตุทำให้ยุงต้านทานต่อสารเคมีทั้งสิ้นส่งผลให้การควบคุมโรคได้ผลลดลงดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การเลือกใช้สารเคมีกำจัดแมลงในการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ดีและทำได้ง่าย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย คือการลดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างถาวร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น