การพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักจัดรายการวิทยุในเขตรับผิดชอบของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่นโดยใช้กระบวนการตลาดเชิงสังคม
คำสำคัญ:
การพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, การตลาดเชิงสังคม, นักจัดรายการวิทยุบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักจัดรายการวิทยุ ในเขตรับผิดชอบของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น ได้ทำการศึกษาในกลุ่มนักจัดรายการวิทยุ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักจัดรายการวิทยุ จำนวน 80 คน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการตลาดเชิงสังคม และอาศัยส่วนผสมทางการตลาด ประกอบด้วย 4 P’s คือ บริการ (Product) นักจัดรายการวิทยุมีการส่งเสริมสุขภาพในด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และการจัดการความเครียด โดยมีคู่มือการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน และแผ่นพับ ราคา (Price) ไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่งเสริมสุขภาพ และชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ สถานที่ (Place) สามารถปฏิบัติที่ทำงาน หรือที่บ้าน ในการส่งเสริมสุขภาพ โดยเน้นให้นักจัดรายการวิทยุเกิดความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลตนเอง การส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Promotion) มีวิธีการส่งเสริมสุขภาพ โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร อาศัยสื่อและช่องทางสื่อที่เหมาะสม และยังประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค เพื่อนำมาพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังดำเนินการ ด้วยสถิติ Paired Sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า หลังดำเนินการนักจัดรายการวิทยุ มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ การรับรู้ความรุนแรงของโรคที่เกี่ยวกับโรคจากการมีพฤติกรรมเสี่ยง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคจากการมีพฤติกรรมเสี่ยง ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพ ความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อโรคจากการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการความเครียด และการปฏิบัติตนเองในการส่งเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จากผลการศึกษาโดยการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักจัดรายการวิทยุ โดยการอาศัยส่วนผสมการตลาดและแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีความเหมาะสม ทำให้นักจัดรายการวิทยุมีการพัฒนาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น