รายงานสอบสวนการระบาดโรคเลปโตสไปโรซิส อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เดือนพฤศจิกายน 2554

ผู้แต่ง

  • เกษร แถวโนนงิ้ว Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • ปานแก้ว รัตนศิลป์กัลชาญ Office of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen
  • เชาวชื่น เชี่ยวการรบ Nong Bua Lam Phu Provincial Health Office

คำสำคัญ:

การสอบสวนการระบาด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา:    เจ้าหน้าที่กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ได้วิเคราะห์สถานการณ์โรคจากการเฝ้าระวัง 506 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส  อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูสูงขึ้นผิดปกติ และพบว่าสูงเป็นอันดับหนึ่งของเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 8  เมื่อพิจารณาจากวันเริ่มป่วยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วของสำนักงานป้องกันควบคุมโรที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู และกับทีมใเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่ ได้ออกสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 8 - 11 พฤศจิกายน 2554 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการระบาด ทราบลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค  และกำหนดแนวทางในการป้องกันควบคุมโรค

วิธีการ :  เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยมีนิยามผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส    คือผู้ที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง   ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง  ตาแดง หนาวสั่น  ไอ  ปัสสาวะสีเข้ม คอแข็ง กดเจ็บตามกล้ามเนื้อ และมีการเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย Latex agglutination test แล้วผลบวก (Positive) ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีบุญเรืองในช่วงวันที่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554  และมีการเก็บตัวอย่างซีรั่มผู้ป่วยเพื่อส่งยืนยันการวินิจฉัย  โดยวิธีIndirect Immunu Florescent Antibody Assay ( IFA) ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี  

ผลการสอบสวนโรค:    ผลการทบทวนเวชระเบียน  ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 11 พฤศจิกายน  2554 มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษารวม 123  คน คิดเป็นอัตราป่วย117.72 ต่อประชากรแสนคน เป็นเพศชาย 102  ราย  (82.93%)และเพศหญิง 21 ราย(17.07% )  จากเส้นโค้งการระบาด  พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน และพบสูงสุดเดือนกรกฎาคม  อาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่สงสัย คือมีไข้สูงเฉียบพลัน 88.45%  ปวดกล้ามเนื้อ ( 63.31% ) และปวดศรีษะอย่างรุนแรง ( 44.62%)  ผลการสุ่มเจาะเลือดผู้ป่วย 16 ราย  ให้ผลบวก [Active infection: IgM  ≥ 100]  6 ราย ( 37.50%)  จากการสุ่มสัมภาษณ์ผู้ป่วยในพื้นที่จำนวน 15 รายจากทั้งหมด 130 ราย พบว่าผู้ป่วยอาศัยในชุมชนแออัด (53.33%)  บริเวณบ้านมีน้ำท่วมขังหรือดินเปียกเฉอะแฉะ (53.33%) มีประวัติสัมผัสแหล่งน้ำหรือดินที่ชื้นแฉะ (53.33%) ลักษณะแหล่งน้ำที่สัมผัสเป็นน้ำไหลเอื่อยๆ (53.33%) ผู้ป่วยมีการสัมผัสน้ำมากกว่า 6 ชั่วโมง/วัน (68.75%) และเป็นการสัมผัสน้ำโดยตรง ( 68.75%)  

สรุปผลการสอบสวน  มีการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสในอำเภอศรีบุญเรืองจริง โดยพบผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยแต่ละราย และไม่มีผู้ป่วยรายอื่นๆ ในบ้านเดียวกันหรือในละแวก  ดังนั้นโรงพยาบาลที่พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ควรส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจำเพาะร่วมด้วยเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและออกสอบสวนโรคเมื่อพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13