การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในคลินิกดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การสนับสนุนจากองค์การ, คลินิกดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยของการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในคลินิกดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 คน แบบสอบถามผู้วิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 0.70 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2556 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.2 เพศชาย ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 51.7 อายุเฉลี่ย 38.6 ปี (S.D.= 7.64) อายุต่ำสุด 24 ปี อายุสูงสุด 55 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 64.2 ระดับการศึกษา จบระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 80.0 รายได้ระหว่าง 20,001–30,000 บาท ร้อยละ 37.5 รายได้เฉลี่ย 32,213 บาท (S.D.= 5.08) ระยะเวลาในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคเอดส์ 6-10 ปี ร้อยละ 43.3 เฉลี่ย 7.13 ปี (S.D.= 4.84)
การสนับสนุนจากองค์การ ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ อยู่ในระดับสูง ในด้านเวลา ค่าเฉลี่ย 3.67 (S.D.=0.59) ในด้านบุคลากร ค่าเฉลี่ย 3.51 (S.D.=0.62) และด้านเทคโนโลยี ค่าเฉลี่ย 3.53 (S.D.=0.85) ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งด้านงบประมาณ ค่าเฉลี่ย 3.42 (S.D.=0.68) และด้านวัสดุ ค่าเฉลี่ย 3.49 (S.D.=0.70) การสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.546 , p-value < 0.001) ปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่จากการได้รับการสนับสนุนจากองค์การในด้านงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น