การเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคอุจจาระร่วง และอาหารเป็นพิษทางห้องปฏิบัติการใน เขตตรวจราชการที่ 10 และ12

ผู้แต่ง

  • พนิดา กัณหากุล The Office of Disease Prevention and Control no. 6 Khon Kaen
  • อรวรรณ แจ่มจันทร์ The Office of Disease Prevention and Control no. 6 Khon Kaen
  • ประจวบ ชัยมณี Faculty of Medicine, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวัง, การดื้อยา, โรคอุจจาระร่วง, อาหารเป็นพิษ, เครือข่ายทางห้องปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อก่อโรคอุจจาระร่วง อุจจาระร่วงอย่างแรง และอาหารเป็นพิษโดยตรวจตัวอย่างจาก Rectal swab ของผู้ป่วยที่เป็นโรคอุจจาระร่วงและผู้สัมผัสใกล้ชิดในเขตตรวจราชการที่ 10 และ12 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ถึง เดือนกันยายน 2554 จำนวน 4,235 ราย พบว่าเป็นเชื้อก่อโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 3,849 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 90.90 ในกลุ่มอุจจาระร่วงเฉียบพลันเชื้อที่พบมาก 3 อันดับได้แก่เชื้อ Vibrio parahemolyticus (ร้อยละ 31.40)  Escherichia coli (ร้อยละ 8.50) Salmonella species (ร้อยละ 8.40) ตามลำดับ และเป็นเชื้อก่อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง 386 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 9.10 แบ่งเป็นเชื้อ Vibrio cholera O1 El Tor Inaba Type (VCI) 194 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 4.60 และเป็นเชื้อ Vibrio cholerae El Tor Ogawa Type (VCO) 192 สายพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 4.50 ปี 2550-2552 ไม่พบเชื้อ VCI ปี 2553 พบว่ามีความไวต่อยา Ampicillin, Trimetho/Sulfa, Tetracycline ร้อยละ 100 และ Chloramphenicol ร้อยละ 98.60  Norfloxacin ร้อยละ 66.60 แต่ในปี 2554 เชื้อ VCI กลับดื้อต่อยา Chloramphenicol  และ Trimetho/Sulfa (ความไวร้อยละ 36.10 และ3.30 ตามลำดับ) เชื้อยังมีความไวต่อยา Tetracycline, Ampicillin และ Norfloxacin  ส่วนเชื้อ VCOไม่พบเชื้อในปี 2550 แนวโน้มการดื้อยา  VCO ตั้งแต่ปี 2551-2554 พบว่าในปี 2551 และ 2554 เชื้อดื้อต่อยา Tetracycline และ Trimetho/Sulfa แต่ในปี 2552 และ 2553 กลับพบว่าเชื้อมีความไวต่อยาทุกตัวที่ทดสอบซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ระยะหลังมีการใช้ยา Trimetho/Sulfa เกินความจำเป็นทำให้เชื้อดื้อยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13