แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12

ผู้แต่ง

  • ปวีณา จังภูเขียว The Office of Disease Prevention and Control no. 6 Khon Kaen
  • ชนะพล ศรีฤาชา Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรค

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytic Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12  จำนวนทั้งสิ้น  230 คนโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน มีการตรวจสอบความตรงตามเชิงเนื้อหา   ความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่  9-31 มีนาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิงเพื่อหาความสัมพันธ์ ได้แก่ Pearson product moment correlation และ Stepwise multiple linear regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05     

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.2) อายุเฉลี่ย 39.33 ปี (S.D.= 7.40) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 72.4) ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส (ร้อยละ71.9) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 87.6 ) รายได้เฉลี่ย 26,996.60 บาท  (S.D. = 9203.39) ได้รับการอบรมร้อยละ 91.4 แรงจูงใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.59 , S.D.= 0.35) แรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจและด้านปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง (= 3.85, S.D.= 0.39) และ (= 3.32, S.D.= 0.39) ระดับการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรค โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน (= 4.08, S.D.= 0.56)  ภาพรวมของแรงจูงใจ  ภาพรวมของปัจจัยจูงใจ  และภาพรวมของปัจจัยค้ำจุน  มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 (r = 0.454, p-value < 0.001, r = 0.465, p-value < 0.001,    r = 0.355, p-value < 0.001 ตามลำดับ) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกวัณโรคในเขตตรวจราชการที่ 10 และ12 คือ ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในงาน (p-value <0.001) ปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหารงาน  (p-value <0.001)  โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ร้อยละ 26.0 ควรมีการชี้แจงและถ่ายทอดเป้าหมายตัวชี้วัดในระดับปฏิบัติอย่างชัดเจน และให้ความสำคัญกับผลสำเร็จของงาน เพื่อให้เกิดความรู้สึกพอใจในผลการปฏิบัติงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13