รูปแบบการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2555

ผู้แต่ง

  • ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี The offce of Disease Prevention and Control 6 Khon Kaen

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, โรคไข้เลือดออก, ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา, การวิเคราะห์อนุกรมเวลา

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาของประเทศไทยมานาน นโยบายจุดเน้นการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการใช้ประโยชน์ข้อมูลเฝ้าระวังโรคนี้ที่เฉพาะเจาะจงยังขาดรูปแบบที่ชัดเจน การหารูปแบบการพยากรณ์การเกิดโรคด้วยวิธีการทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และการใช้สถิติเชิงปริมาณ เพื่อเป็นแนวทางการเตือนภัยและการพยากรณ์ล่วงหน้าได้ โดยการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวมทุกชนิดในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2554 นำเสนอใน
รูป ค่าความถี่ ร้อยละ อัตราต่อประชากรแสนคน ส่วนการพยากรณ์โรคล่วงหน้า ใช้สถิติวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Timeseries analysis : Triple exponential smoothing or Winter ‘ s model) วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์กำาหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่แอลฟ่า แกรมม่า และเดลต้า เท่ากับ 1, 0 และ 0 ตามลำดับผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ทางระบาดวิทยา ปัจจุบันในปี 2554 พบผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 4,456 รายคิดเป็นอัตราป่วย 51.99 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 10 ราย อัตราตายเท่ากับ 0.12 ต่อประชากรแสนคน อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.22 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดและรองลงมาคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี และ 5-9ปี (248.12 และ 171.35 ต่อประชากรแสนคน) และเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2549-53) พบว่ามีการระบาดในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน (กรกฎาคม สูงที่สุด คือ 1,079 ราย) โดยในช่วง 5 ปีแรก อัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น และในช่วง 5 ปีหลัง การระบาดของโรคมีรูปแบบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยการกระจายตามพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ในพื้นที่ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ในรอบ 9 ปี (2546-2554) พบว่า ในช่วง 4 ปีแรก (2546-2549) ทุกจังหวัดมีแนวโน้มของอัตราป่วยที่สูงขึ้นจนถึงปี 2549 โดยในปีนี้จังหวัดร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยสูงที่สุด กล่าวคือ อัตราป่วยเท่ากับ 95.01 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ ขอนแก่น และ เลย (83.25 และ 60.96 ต่อประชากรแสนคน) ส่วนในช่วง 5 ปีหลัง (2550-2554) มีการระบาดของโรคสูงที่สุดในปี 2550 โดยในปีนี้จังหวัดร้อยเอ็ด มีอัตราป่วยสูงที่สุด กล่าวคือ อัตราป่วยเท่ากับ 316.25ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ กาฬสินธุ์ และ มหาสารคาม (292.87 และ 157.98 ต่อประชากรแสนคน)ส่วนแนวโน้มการระบาดมีการเปลี่ยนเป็นต่ำลง 2 ปีแล้วสูงขึ้น 2 ปี รูปแบบการระบาดของโรคไข้เลือดออกระดับเขต มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 5 ปีแรก โดยในปี 2550 และ 2553 เป็นปีที่มีการระบาดสูงสุด โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 155.85 และ 89.62 ตามลำดับ ส่วนปีล่าสุดอัตราป่วยตายสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้เล็กน้อย(ไม่เกินร้อยละ 0.2) สำาหรับการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อโรคไข้เลือดออกในพื้นที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบระหว่างปี2549-2553 พบว่าปี 2549-2552 พบ ไวรัสไข้เลือดออกชนิด Dengue-1 (60-70%) แต่ปี 2553 พบชนิด Dengue-2 (66%) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของเชื้อและเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้มีอาการหนักและเสียชีวิตโดยการเปลี่ยนแปลงของชนิดเชื้อไวรัส จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 3-4 ปี และผู้เสียชีวิตที่มีรายงานในพื้นที่เขต ได้ตรวจหาชนิดของไวรัสไข้เลือดออกแล้วเป็นชนิด Dengue-2 ทุกรายการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ในปี 2555 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 3,057 ราย ตามลำาดับ ภายใต้สภาวะทางภูมิศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม หรือกิจกรรมและนโยบายต่างๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยการพยากรณ์โรคเชิงปริมาณสามารถพิจารณาการระบาดของโรคในอนาคตได้และการนำค่าการพยากรณ์นี้ไปเป็นตัวกำหนดเป้าหมายในแต่ละพื้นที่น่าจะชัดเจนและเหมาะสมกว่าเป้าหมายเดิมที่อาจไม่ยุติธรรมในการเปรียบเทียบสถานการณ์โรคนี้ของแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการในการป้องกันและควบคุมโรคในอนาคตได้รูปแบบการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก มีดังนี้ 1.) การเริ่มศึกษาสถานการณ์ทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงขนาดปัญหาของการเกิดโรค รวมทั้งนโยบายที่มาจากบริบทแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นฐาน
ข้อมูลอ้างอิงทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่นำไปสู่ความเชื่อมโยงเชิงคุณลักษณะทั่วไปของโรคนี้ 2.)ศึกษาปัจจัยหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคเป็นข้อมูลที่ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ที่เน้นการศึกษาเชื้อที่เป็นสาเหตุแหล่งโรคปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 3.) การพิจารณาเทคนิคพยากรณ์เชิงปริมาณด้วยเทคนิคที่เหมาะสมกับองค์ประกอบข้อมูลของโรคนี้ คือ แนวโน้ม ฤดูกาล วัฏจักร และความไม่แน่นอน 4.) การนำาผลการพยากรณ์เชิงปริมาณล่วงหน้ามาพิจารณาการระบาดล่วงหน้า โดยเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง พร้อมเสนอข้อมูลที่ได้รับรายงานจริงล่าสุดถึงกลางปีนั้นๆ 5.) การจัดทำข่าวกรองเตือนภัยโดยการเสนอผลการพยากรณ์ภาพรวมเขต ในไตรมาสแรก พร้อมผลการพยากรณ์เฉพาะจังหวัดอัตราป่วยสูงสุด หรือ Hot spot เพื่อให้เกิดความตระหนักและเตรียมพร้อมในกิจกรรมการเฝ้าระวังเหตุการณ์ การสอบสวนโรค และการรณรงค์ด้วยสื่อต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรคต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13