การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า และปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2555

ผู้แต่ง

  • รัชนี นันทนุช The Office of Disease Prevention and Control 6th Khon Kaen
  • นิตยา ดวงแสง The Office of Disease Prevention and Control 6th Khon Kaen

คำสำคัญ:

การประเมินระบบฝ้าระวัง, โรค มือ เท้า และปาก, เอนเทอโรไวรัส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังโรคมือ เท้า และปาก และโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ดำเนินการศึกษาโดยเลือกพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอชุมแพ  อำเภอมัญจาคีรีอำเภอน้ำพองอำเภอพลและอำเภอกระนวนรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ในฐานข้อมูลแต่ละโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1มกราคม -31 ธันวาคม 2555ที่มีอาการเข้าได้กับนิยามผู้ป่วยสงสัยโรคมือ เท้า และปาก หรือ โรคแผลในคอหอย (Herpangina)หรือโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรที่มีอาการรุนแรง ที่ใช้ในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความครบถ้วนของการรายงาน (Sensitivity)ค่าพยากรณ์บวก(Positive predictiver value)ความทันเวลา (Timeliness) ความเป็นตัวแทน (Representativeness) และความถูกต้องของข้อมูล (Accuracy of data) สถิติที่ใช้ได้แก่  จำนวน  ร้อยละอัตราส่วนมัธยฐานและค่าควอไทล์

ผลการศึกษาพบว่า จำนวนเวชระเบียนที่นำมาทบทวนทั้งหมด802รายและเป็นผู้ป่วยที่รายงานในระบบรายงาน506  จำนวน 388 ราย เข้าตามนิยาม 375 ราย ไม่เข้านิยาม 13 ราย เมื่อจำแนกตามรายโรคพบโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 471 ราย  โรคแผลในคอหอย (Herpangina)จำนวน 156 ราย โรคAphthous ulcerจำนวน 175 ราย  การประเมินผลความไวและค่าพยากรณ์บวก พบว่าในภาพรวมของทุกโรงพยาบาลมีความไว(Sensitivity) ร้อยละ60.59และค่าพยากรณ์บวก(Positive predictive value)ร้อยละ 96.88 ความเป็นตัวแทนด้านเพศและอายุของข้อมูลจากฐานข้อมูล R506 เปรียบเทียบกับเวชระเบียนที่ทบทวน พบว่า อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงในฐานข้อมูล R506 เท่ากับ 0.74:1แตกต่างจากเวชระเบียนที่ทบทวน ซึ่งอัตราส่วนเท่ากับ1.31:1และค่ามัธยฐานเท่ากับค่าIQRของอายุเท่ากัน (Median=IQR=2)  ความทันเวลา นภาพรวมของโรงพยาบาลที่ประเมินพบว่ามีการรายงานในช่วงเวลา 0-3วัน คิดเป็นร้อยละ90.46   3-7 วัน คิดเป็นร้อยละ 5.67  และ มากกว่า 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 6.96 ความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลในระบบเฝ้าระวัง ในภาพรวมของโรงพยาบาลที่ประเมินพบว่ามีความถูกต้องของตัวแปรเพศ คิดเป็นร้อยละ 97.68 ความถูกต้องของตัวแปรอายุ คิดเป็นร้อยละ 98.20  ความถูกต้องของตัวแปรจังหวัด คิดเป็นร้อยละ99.74 และความถูกต้องของตัวแปรวันเริ่มป่วย คิดเป็นร้อยละ 67.27  ข้อเสนอแนะเครือข่ายระบบเฝ้าระวังทุกระดับ ควรจัดตั้งและดำเนินการเฝ้าระวังกลุ่มโรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรอเพื่อป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13