ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยในการบริหารมีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อุเทน จิณโรจน์ Srisawang Sub-District Health Promoting Hospitals
  • วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

ลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยในการบริหาร, การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยวิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยในการบริหารมีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 140 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เก็บข้อมูลระหว่างวันที่  20 มกราคม 2556  ถึง  28 กุมภาพันธ์ 2556  นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน    และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน     

                ผลของการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.71 อายุเฉลี่ย 35.02 ปี สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 65.71   การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 82.14 รายได้เฉลี่ย 21,655.55 บาท ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 6.67 ปี  ได้รับการอบรมงานระบาดโรคติดต่อ ร้อยละ 93.57  ปัจจัยในการบริหารในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (Mean dif = 3.44, 95%CI = 3.41 - 3.48 )  และการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ อยู่ในระดับสูง (Mean dif = 3.77, 95%CI = 3.70 - 3.84)  ลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ต่ำ กับการปฏิบัติงาน นอกนั้นไม่มีความสัมพันธ์  และปัจจัยในการบริหาร อยู่ในระดับปานกลาง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = 0.315, 95%CI = 0.32 – 1.00, p-value < 0.001 )  และพบว่า มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านเวลาในการปฏิบัติงาน  2) ปัจจัยด้านขวัญกำลังใจในการทำงาน และ  3) ระดับการศึกษา   สามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม ได้ร้อยละ 29.2 (R2adj=0.292)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13