ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการให้บริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุน ทันตกรรมของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ:
กองทุนทันตกรรม, ปัจจัยการบริหารบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการให้บริการทันตกรรมตามชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุนทันตกรรมของทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10 จำนวน 118 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดค่า p-value < 0.05 จากผลการศึกษาพบว่า ระดับปัจจัยการบริหารโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.72, S.D. = 0.15) ระดับการให้บริการทันตกรรมของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.54, S.D. = 0.13) ปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็น ทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10 ไม่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการทันตกรรมของ ทันตแพทย์ ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการให้บริการทันตกรรมของ ทันตแพทย์ (r = 0.537, p-value < 0.001) สำหรับปัจจัยการบริหารที่สามารถร่วมกันทำนายผลการให้บริการทันตกรรมของทันตแพทย์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยการบริหารด้านกระบวนการบริหาร และด้านขวัญกำลังใจในการทำงานสามารถทำนายการให้บริการทันตกรรมของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 10 ได้ร้อยละ 50.00 สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการทันตกรรมของทันตแพทย์ คือ ทันตแพทย์ไม่ถนัดในงานบริหาร และ ยังขาดการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น