แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคไม่ติดต่อเรื้อรังบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอห้วยแถลง จำนวน 190 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556 ถึง 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.48 และการปฏิบัติงานในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 2.56 คิดเป็นร้อยละ 82.6 แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ระยะเวลาการปฏิบัติงาน สภาพการปฏิบัติงาน และรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ร้อยละ 48.5 ปัญหาและอุปสรรคคือ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับภาระงานที่มากขึ้น สรุปจากผลการศึกษาพบว่าแรงจูงใจและระดับการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาคือ ควรส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างสม่ำเสมอ และมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ติดตามผลการปฏิบัติงาน ให้คำแนะนำ และแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งควรจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการปฏิบัติงานในการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น