ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด เสมหะพบเชื้อรายใหม่ในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
โรควัณโรคปอด ความล่าช้า ความชุกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ และระยะเวลาของความล่าช้าที่เกิดจากตัวผู้ป่วยในจังหวัดเลย โดยกลุ่มตัวอย่างได้จาการวินิจฉัยและขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคในโรงพยาบาลรัฐ 14 แห่งในเขตจังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2560 มีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียนและใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวด้วยสถิติวิเคราะห์ Chi-square test โดยใช้สถิติทดสอบ Simple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ Crude odds ratio (OR) พร้อมช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% CI วิเคราะห์ตัวแปรแบบพหุ โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression analysis และนำเสนอค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และ 95% CI ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรควัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จำนวน 259 คน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐทั้ง 14 แห่ง ในจังหวัดเลย อัตราความชุกของโรควัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ (Prevalence Rate) ปี พ.ศ.2560 เท่ากับ 40.4 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.6 อายุระหว่าง 51 – 70 ปี ร้อยละ 43.2 อาชีพว่างงานเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 44 สัดส่วนการมารับการรักษาล่าช้าของผู้ป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปร้อยละ 50.2 (130/259) โดยมีค่าเฉลี่ย 38.85 วัน สัดส่วนระยะเวลาความล่าช้าจากระบบบริการสาธารณสุขของรัฐตั้งแต่ 7 วันขึ้นไปร้อยละ 11.58 (30/259) โดยมีค่าเฉลี่ย 5.29 วัน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงเดี่ยว (Univariate analysis) พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาโรควัณโรคปอด ได้แก่ เขตที่พักอาศัยนอกเขตเทศบาล (OR=1.57; p-value=0.03) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท (OR=2.22; p-value=0.01) ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาลมากกว่า 10 กิโลเมตร (OR=2.15; p-value=0.003) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรแบบพหุถดถอยลอจิสติก พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาล่าช้าในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ เพศ (ORadj=2.06; 95%CI=1.13 - 3.75) รายได้ (ORadj=0.34; 95%CI=0.17 - 0.65) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ (ORadj=0.40; 95%CI=0.22 – 0.75) ระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาล (ORadj=2.16; 95%CI=1.26 – 3.68)
จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความล่าช้านั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ผู้ป่วยขาดความตระหนักในการเจ็บป่วยของตน ความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ ความมีการพัฒนาระบบสาธารณสุขของรัฐให้ได้มาตรฐานให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้องลดโอกาสในการมารับบริการล่าช้าฉะนั้นควรมีการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคโดยดำเนินงานเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ป่วยในชุมชนให้ได้โดยเร็วและรักษาให้เร็วที่สุด
คำสำคัญ: โรควัณโรคปอด ความล่าช้า ความชุก
References
1. กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติในการสอบสวนกรณีสงสัยการระบาดของวัณโรค:พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
2. World Health Organization. Global tuberculosis report 2016. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 4 กันยายน2560]. เข้าถึงได้จาก www.who.int/tb/publications/global_report/
3.TBCM Thailand. TBCM case managent. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://tbcmthailand.net/uiform/Login.aspx.
4. สุทธิณี สิทธิหล่อ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าของผู้ป่วยในการรักษาวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 8(2): 10-19.
5.สฤษดิ์เดช เจริญไชย. ความล่าช้าในการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคปอดของโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดปทุมธานี มหาวิทยาลัยมหิดล. สารนิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล 2555.
6. ฉวีวรรณ พงษ์วงษ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่เกิดจากตัวผู้ป่วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยสานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(1): 36-46.
7. รณยศ สุวรรณกัญญา, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าที่เกิดจากผู้ป่วยในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(3): 66-74.
8. กองวัณโรคกรมควบคุมโรคติดต่อ. แนวปฏิบัติสาหรับเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรค: พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจากัด; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น