การปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพโดยการเทียบรอย คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชุลีลักษณ์ หนูเสน Roi-Et Provincial Health Office

คำสำคัญ:

ตำบลจัดการสุขภาพ, การมีส่วนร่วม, การเทียบรอย, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การพัฒนาบทบาทภาคประชาชน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ด้วยการมุ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกัน ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่นอำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดกลุ่มเป้าหมายจำนวน30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงมีขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย เรียนรู้ทำความเข้าใจวิธีการทำงานของตนเองเลือกหัวข้อและคู่เทียบรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลหาช่องว่างวางแผนและทำการปรับปรุงทบทวนการเทียบรอยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ     ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t –testกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพโดยการเทียบรอยส่งผลให้หลังการพัฒนาดีขึ้นกว่าก่อนพัฒนาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยหลังการพัฒนาการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ซึ่งกระบวนพัฒนามีการศึกษาค้นคว้าแบบส่องสะท้อนตนเองเป็นหมู่คณะของกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อให้ได้รูปแบบหรือแนวทางไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพให้สอดคล้องกับภาวะของสังคมและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเทียบเคียง Benchmarking ซึ่งมี 6 ขั้นตอนตามกระบวนการเทียบรอยของคุก(Cook’s)

โดยสรุป การเทียบรอยทำให้มีการจัดระบบวางแผน และมีการจัดการการติดตามที่ดีมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวและสร้างความรู้สึกของการมี

ส่วนร่วมในทุกด้านส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพที่เพิ่มขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-04