รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่ โดยทีม SRRT ระดับตำบล ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ทีม SRRT ระดับตำบล, โรคเลปโตสไปโรซีสบทคัดย่อ
โรคเลปโตสไปโรซีสเป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิดก่ออาการหลากหลายขึ้นกับชนิดของเชื้อ สายพันธุ์และปริมาณเชื้อที่ได้รับ การติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ มีอาการอย่างอ่อน อาการรุนแรง หรือถึงขั้นเสียชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงบริบทและสภาพปัญหาของพื้นที่ รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่โดยทีม SRRT ระดับตำบล พฤติกรรมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกำพี้ และแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว จำนวน 50 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัด และแบบบันทึกการดำเนินงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังดำเนินการโดยใช้ Paired sample t- test การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกต การสนทนากลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่โดยทีม SRRTระดับตำบล ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามประกอบด้วย 15 ขั้นตอน ส่งผลให้ทีมSRRT ระดับตำบล มีแนวทางการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีส ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ความรู้ การปฏิบัติตัวและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีส เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p< 0.001)และความพึงพอใจในการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสอยู่ในระดับสูงมีปัจจัยความสำเร็จ คือ “PRASERT” และรูปแบบการดำเนินงานคือ “KUMPE MODEL”
โดยสรุปรูปแบบการดำเนินงานการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในพื้นที่ โดยทีม SRRTระดับตำบลเป็นความร่วมมือกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการเรียนรู้ร่วมกัน ใช้ทุนและบริบทของพื้นที่ มาเป็นองค์ประกอบสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น