การพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรสังกัดกรมควบคุมโรค : การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด
คำสำคัญ:
ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร, การประเมินพหุแนวคิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บริบทของการประเมินผลการปฏิบัติงาน สังเคราะห์และพัฒนาระบบ ทดลองใช้ระบบ และประเมินประสิทธิภาพระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรสังกัดกรมควบคุมโรค : การประยุกต์ใช้การประเมินพหุแนวคิด ประกอบด้วย เทคนิค Balanced Scorecard การประเมินที่อิงวัตถุประสงค์เป็นหลัก การประเมินเสริมพลังอำนาจ และการประเมินแบบ 360 องศา โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรศึกษาคือ บุคลากรสังกัดสำนักงานป้องกันควบคุมโรค จำนวน 12 แห่ง ขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์บริบทและกำหนดแนวคิดของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) สร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) ทดลองใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 4) ประเมินระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินสมรรถนะ และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ เปรียบเทียบความแตกต่างผลการปฏิบัติงานระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบครัสคาล-วอลลิส และความสอดคล้องระหว่างกลุ่มรู้ชัดด้วยสถิติทดสอบเคนดอลวี และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) บริบทของสภาพปัญหาการนำไปสู่การพัฒนาระบบ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการประเมิน บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ สิ่งที่ต้องประเมิน วิธีและเครื่องมือการประเมิน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาที่ทำการประเมิน และการนำผลการประเมินไปใช้ 2) กระบวนการ ประกอบด้วย วางแผนเจรจาต่อรองตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ตามแนวทางเทคนิค Balanced Scorecard และแนวทางการประเมินเสริมพลังอำนาจ การจัดทำตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ตามแนวทางการประเมินที่อิงวัตถุประสงค์เป็นหลัก และดำเนินการประเมินผล ตามแนวทางการประเมินแบบ 360 องศา และแนวทางการประเมินเสริมพลังอำนาจ 3) ผลผลิตของระบบ ประกอบด้วย คะแนนที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร ความคิดเห็นความพึงพอใจ และ 4) การสะท้อนผลข้อมูลย้อนกลับ ประกอบด้วย การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล และจุดเด่น จุดด้อยของระบบ และการประเมินประสิทธิภาพของระบบ 4 มาตรฐาน ประกอบด้วย ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านการใช้ประโยชน์
2) ผลการประเมินการปฏิบัติงานบุคลากร พบว่า ระบบสามารถจำแนกความแตกต่างของคะแนนผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรระหว่างกลุ่มดีเด่น กลุ่มดีมาก และกลุ่มดี และระบบมีความสอดคล้องกับกลุ่มรู้ชัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และบุคลากรมีความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับมากขึ้นไปทุกด้าน
3) การสะท้อนกลับข้อมูล พบว่า ผู้ประเมินและผู้รับประเมินมีการสื่อสารช่องว่างสมรรถนะ และการจัดทำแผนแผนพัฒนารายบุคคล
4) ประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมาตรฐาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น