การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, การสนับสนุนจากองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Research) เพื่อศึกษาการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 338 คน ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้คือ 168 คน แต่ได้รับแบบสอบถามคืนเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเก็บข้อมูลจำนวน 166 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 30เมษายน 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง ได้แก่ Pearson product moment correlation และ Stepwise multiple linear regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 58.4 อายุเฉลี่ย 45.20 ปี (S.D. = 9.34) ต่ำสุด 21 ปี สูงสุด 60 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 43.4 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 71.7 รายได้เฉลี่ย 24,087.41 บาท (S.D. = 9,111.40) ต่ำสุด 10,000 บาท สูงสุด 58,000 บาท ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นเฉลี่ย 18 ปี (S.D. = 9.63) ต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 39 ปี ตำแหน่งเจ้าพนักงานอื่นๆด้านสาธารณสุข ร้อยละ 25.3 และเป็นบุคลากรสายงานหลัก ร้อยละ 61.4 ภาพรวมการสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.68 (S.D.=0.58) ภาพรวมคุณภาพชีวิตการทำงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.74 (S.D. = 0.51) ภาพรวมการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.823, p-value <0.001) และ มีการสนับสนุนจากองค์การ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านการบริหาร และด้านวัสดุอุปกรณ์ (r = 0.796, r = 0.665, r = 0.662 ตามลำดับ) p-value < 0.001 สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 69.7
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น