รูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนปี พ.ศ.2558

ผู้แต่ง

  • เกสรแถว โนนงิ้ว Office of Disease Prevention and Control region 7 KhonKaen
  • พรชนก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Bureau of General Communicable Diseases,Department of Disease Control
  • พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว Secondary Educational Service Area Office, Area 25

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ, โรงเรียน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนประถมศึกษา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พ.ศ.2558  ประชากรที่ศึกษาคือ โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  รวม 4 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 14แห่งผู้ร่วมดำเนินการในพื้นที่เลือกแบบเจาะจง  ประกอบด้วย  ผู้บริหารโรงเรียน ( 14คน) ครู(22คน)  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ( 9 คน)  นักเรียน(250 คน)  ผู้ประกอบการ (45 คน)  รวมทั้งหมด 340คน  ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2557 ถึง กันยายน พ.ศ. 2558   แบ่งการศึกษาเป็น 3ระยะ คือ 1) การศึกษาสภาพการดำเนินงานการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน  2) การจัดทำรูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนและดำเนินการ3)  การประเมินผลรูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม   การประชุมระดมสมองข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา 1.สภาพการดำเนินงานการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน  พบว่านักเรียนและผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องโรคอาหารเป็นพิษอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 71.6, 40.0  ตามลำดับ มีทัศนคติต่อการป้องกันควบคุมโรคอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 62.4, 77.8 ตามลำดับ การปฏิบัติตนในการป้องกันควบคุมโรคอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.0, 53.3 ตามลำดับ กิจกรรมการเฝ้าระวังป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน    ตลอดจนนโยบายการดำเนินงานส่วนใหญ่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคในโรงเรียน

หลังดำเนินการประชุมระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสวนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนได้รูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ดังนี้1.  การเฝ้าระวังป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน มี3 วิธีได้แก่ 1.1)  การเฝ้าระวังนมโรงเรียน    การเก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจ และการตรวจหาคลอรีนตกค้างในน้ำประปา  1.2)  การป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ประกอบด้วยการล้างมือ ล้างห้องน้ำ   สายตรวจพาข้าวปิ่นโต  นักข่าวเสียงตามสายในโรงเรียน  รณรงค์อาหารปลอดภัยในโรงเรียน  สุกก็แซ่บรณรงค์ทำความสะอาดในโรงเรียน   ครอบครัวอาหารปลอดภัยและนักสื่อสารมวลชนอาสา และ 1.3) การบูรณาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการเฝ้าระวังป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนมี 2 ลักษณะคือมีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้าในวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา อาหารสอนเทอมละ 6 ชั่วโมงและการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้าในวิชาสอนเสริม ชุมนุมต่างๆ   2.  เครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนมี  2 เครือข่ายที่ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน  คือ เครือข่ายแกนนำนักเรียนภายในโรงเรียน  และเครือข่ายครูและเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน

          ผลลัพธ์หลังการดำเนินการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน  ตามกระบวนการแล้วได้ค้นพบนักเรียนมีความรู้เรื่องโรคอาหารเป็นพิษ มีทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001)    ส่วนผู้ประกอบการในโรงเรียนมีความรู้เรื่องโรคอาหารเป็นพิษ มีทัศนคติและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001)ยกเว้นการปฏิบัติตนในการป้องกันควบคุมโรคที่มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โรงเรียนมีกิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันโรคอาหารเป็นพิษที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมี 5แห่ง ส่วนโรงเรียนอีก9แห่งเน้นกิจกรรมการป้องกันโรค  ทุกโรงเรียนผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการดำเนินงาน และมีการจัดสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรคส่งผลให้อัตราป่วยโรคอาหารเป็นพิษในตำบลที่โรงเรียนตั้งอยู่ลดลง   เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการโรงเรียนทุกแห่งไม่มีการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการและเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02